การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระครูภาวนาคุณาธาร (สุชิน คุณธโร)
พระราชสมุทรวชิรโสภณ
พระครูวิสุทธานันทคุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างในตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ เพศ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อาชีพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อายุ การศึกษา และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า สภาพสังคมเศรษฐกิจไม่ดีส่งผลให้การก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดไม่ก้าวหน้า คฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดบางวัดนำปัญหาทางสังคมและยาเสพติดมาแพร่หลายในวัด และวัดยังขาดบุคลากรในการส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร พร้อมยังขาดการดูแลรักษาเสนาสนะให้พร้อมใช้ ส่วนข้อเสนอแนะควรกำหนดแผนการก่อสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะตามความที่เหมาะสมควรประสานเจ้าหน้าที่รัฐ และเพิ่มความเข้มงวดเป็นพิเศษเกี่ยวกับการดูแลความประพฤติของคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดควรส่งเสริมสนับสนุนด้านบุคลากรด้านการศึกษาทั้งพระภิกษุและสามเณรควรส่งเสริมการดูเสนาสนะตามหลักการของ “วัด 5ส.”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก แสนประเสริฐ. (2549). ประมวลพระราชบัญญัติคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กรมการศาสนา. (2552). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

บุญร่วม เทียมจันทร์. (2546). เจ้าอาวาส เจ้าพนักงาน ใครกำหนด. กรุงเทพมหานคร: สามดีพริ้นติ้งอีควิปเม้นท์.

พระครูถาวรกาญจนธรรม (สมคิด ถาวโร). (2559). การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในเขตอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดพงศ์พันธ์ ขนฺติโสภโณ. (2559). การบริหารจัดการงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2557). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธ-ศาสนา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสันติถิรธรรม (นพดล ถิรสนฺโต). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการวัด : กรณีศึกษาวัดกำแพงเหนือ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุวรรณจันทนิวิฐ (สมพงษ์ จนฺทสโร). (2558). ทักษะการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส ในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโสภณธำรงกิตติ์ และวรสิทธิ์ เจริญพุฒ. (2562). การจัดการวัดอย่างมีประสิทธิผลของคณะสงฆ์ภาค 15. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 6(2). 282.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2554). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พระสงฆ์กับกรมการศาสนาในกรมการศาสนาสู่ทศวรรษแห่งการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2564). พระสงฆ์กับการศึกษาไทยในบทบาทของสถาบันพระพุทธ- ศาสนากับการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พระมหาสุวัฒน์ คุณวุฑฺโฒ (สูแป้น). (2564). การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเอกชัย ปญฺญาวชิโร (วราภรณ์สุภากุล). (2561). การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2547). การเมืองมิใช่เรื่องของสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

พระอำนาจ จนฺทสโร. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในรายวิชาหน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวรารามแผนกสามัญศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพ็ญนภา ปาสายออ. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ เสียงก้อง. (2558). คน ต้นไม้ และสายน้ำ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชะงุ้ม. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566. ราชบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชะงุ้ม.