รูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารวัดในประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารวัดในประเทศไทย ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่พระสังฆาธิการ 396 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) พัฒนารูปแบบ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 23 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา และ 3) เสนอรูปแบบ ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารวัดในประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีสภาพการบริหารวัดอยู่ในระดับมาก 1 ด้านคือการเผยแผ่ มีสภาพการบริหารวัดอยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ การปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ และสาธารณสงเคราะห์ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ รูปแบบ และ 3) รูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทยเป็นการกำหนดรูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ คือ พุทธศาสน์มั่นคง ดำรงศีลธรรม นำสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน (2) พันธกิจ เพื่อทำให้วิสัยทัศน์บรรลุผลได้ต้องดำเนินการตามพันธกิจของคณะสงฆ์ 6 ด้าน คือ การปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ ด้านเผยแผ่ สาธารณูปการ สาธารณสงเคราะห์ (3) รูปแบบ มีองค์ประกอบด้วย 6 รูปแบบตามพันธกิจชองคณะสงฆ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญศรี พานะจิตต์ และศรีนวล ลภกิตโร. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด: ศึกษาเฉพาะ กรณีวัดชลประทานรังสฤษฎิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย. สำนักงานการศึกษาแห่งชาติ.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). ทางสายอิสรภาพของการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระมหาธฤติ วิโรจโน (รุ่งชัยวิทูร). (2556). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการเพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเรืองเดช ถาวรธมฺโม (ศรีประสม). (2554). การบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนวัดไผ่ล้อม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศรณชัย มหาปุณฺโณ. (2556). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัตน์. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.