แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

กาญจนะ พุดซ้อน
พระสุรชัย สุรชโย
บุญเชิด ชำนิศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา  2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการตรวจสอบ และด้านการประเมินคุณภาพ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ได้แก่ ผู้บริหารต้องสร้างความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน กำหนดนโยบายร่วมกันมีมาตรการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ใช้วิธีการตรวจสอบที่สร้างสรรค์และเป็นกัลยาณมิตรที่ดี 3) แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ประกอบด้วยผู้บริหารและครูรักในงานประกัน ปฏิบัติงานด้วยความสมัครใจ มีความรับผิดชอบและมุ่งหวังผลสำเร็จของงาน ทำงานด้วยความสุข ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกฤช พุ่มบุญนาก. (2555). เอกสารประกอบการประชุม สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา การศึกษาการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ อำเภอทองผาภูมิ. กาญจนบุรี: โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ.

ชาตรี แนวจำปา. (2552). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรัชญา มานะวงศ์. (2565). การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พัทธ์ธีญา ไพรมุ้ย. (2556). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. แหล่งที่มาhttps//www.ratchakitcha.soc.go.th สืบค้นเมื่อ 13 พ.ค. 2563.

สง่า จันทร์วิเศษ. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 13. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สถิตย์ รัชปิตย์. (2548). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษาคฤหัสถ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.