การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ซึ่งมีรูปแบบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารและครู จำนวน 121 คน สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured-interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 รูป/คน สถิติที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความต้องการจำเป็นของการบริหารงานสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวม พบว่าความต้องการจำเป็นที่มีความต้องการมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป (PNImodified =0.193) ด้านการบริหารงานวิชาการ (PNImodified=0.190) ด้านการบริหารงานบุคคล (PNImodified =0.180) และด้านการบริหารงานงบประมาณ (PNImodified =0.162) 2) ผลการศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีดังนี้ 2.1) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการส่งเสริมการประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว 2.2) ด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนด้วยการให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน มีการส่งเสริมการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา 2.3) ด้านการบริหารงานบุคคล มีกำหนดแผนงานบุคลากรทำงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา มีการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน 2.4) ด้านการบริหารงานงบประมาณ จัดให้มีการจัดทำแผนการประมาณรายรับรายจ่ายอย่างเหมาะสม มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดระบบการบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุ ที่ชัดเจน มีการจัดทำบัญชี การตรวจสอบและควบคุมดูแลการใช้จ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม หากใช้หลักพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานจะนำไปสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ด้านการบริหารงานงบประมาณ จัดทำแผนการประมาณรายรับรายจ่ายอย่างเหมาะสม มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีระบบการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติการ มีการติดตามและการตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเที่ยงตรงและโปร่งใส ด้านการบริหารงานบุคคล กำหนดแผนงานบุคลากรทำงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา มีการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน มีการจัดทำระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากร ด้านการบริหารงานทั่วไป ส่งเสริมการประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ตามองค์ความรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). กระทรวงศึกษาธิการกับการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล. กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2543. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎหมายกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ณัฐพร ภูทองเงิน. (2555). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในกลุ่มสถานศึกษาเขตพื้นที่ ที่ 1 ถึง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศุพชัย สุภชโย (บุญพร้อม). (2561). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 9 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมชาย เตชปญโญ (เตชะ). (2556). การบริหารงานวิชาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรง เรียนมัธยมศึกษา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการบุญมี ปญฺญาสาโร (วิละพาบ). (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษานครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรินทร์ ขาวงษ์. (2554). การบริหารความเสี่ยงงานการเงิน บัญชีและพัสดุของสถานศึกษาภาครัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง.(2553). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2543). รวมธรรมะ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2553. แหล่งที่มา http://www.obec.go.th. สืบค้นเมื่อ 14 มิ.ย. 2566.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
สุบรี ม่วงกุง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Beach, D.S. (1980). Personnel: The Management of People at Work. 4th ed. New York: Macmillan Publishing Co..
Dessler G. (2000). Human Resource Management. 8th ed. Upper Saddle River. NJ: PrenticeHall.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.