แนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน 2) ศึกษาวิธีการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 186 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับวิธีการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดตั้งงบประมาณ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการติดตามตรวจสอบประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ และด้านการบริหารการเงิน บัญชี และสินทรัพย์ ตามลำดับความสำคัญ 2) ผลการวิธีการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล มีวิธีการดังนี้ (1) หลักความรับผิดชอบ มีการประชุมกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้รับผิดชอบเรื่องการเงินและงบประมาณชัดเจน (2) หลักการกระจายอำนาจ มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรให้รับผิดชอบงบประมาณการเงิน (3) หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีเข้าร่วมในการรับรู้กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี (4) หลักประสิทธิภาพ มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณชัดเจน มีตัวชี้วัด ในโครงการบริหารด้วยความโปร่งใส (5) หลักความเสมอภาค มีการจัดสรรงบให้มีความเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่า ส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งต้องได้มากกว่ากันจนทำให้เกิดการแตกแยกในองค์การ และ (6) หลักความโปร่งใส มีคณะกรรมการทำงานการจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจนตรงไปตรงมาอย่างมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ 3) แนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ดังนี้ (1) หลักประสิทธิผล ต้องมีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (2) หลักความรับผิดชอบ ควรมีการประชุมวางแผนกับผู้ใต้บังคับบัญชา (3) หลักการกระจายอำนาจ มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรให้รับผิดชอบงบประมาณการเงิน (4) หลักการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีเข้าร่วมในการรับรู้กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี (5) หลักประสิทธิภาพ ต้องมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณชัดเจนตรงตามตัวชี้วัดในโครงการด้วยความโปร่งใส (6) หลักความเสมอภาค ควรจัดสรรงบให้มีความเท่าเทียมกัน และ (7) หลักความโปร่งใส ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานการจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจนตรงไปตรงมาอย่างมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: แม็ทช์พอยท์.
เกตุจันทร์ฑา ศรีวะรมย์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงบประมาณที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชนากานต์ คงกะพันธ์. (2558). การศึกษาการกระจายอำนาจการบริหารงานงบประมาณสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2546). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. รายงานการวิจัย. สถาบันพระปกเกล้า.
ผจญ อหันตะ. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนของรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยฺมงฺคโล). (2548). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชัยมงคลพริ้นติ้ง.
เพ็ญพรรณ บางอร. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2566). ธรรมาภิบาล. แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย.2566.
วรวิทย์ บุญประคม. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬายลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. (2566). รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. แหล่งที่มา https://aya1.go.th สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2566.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาสในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬายลงกรณราชวิทยาลัย.
อัจฉราพร กรึกไกร. (2558). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชกัฎพระนครศรีอยุธยา.
อาภาวรรณ สงวนหงส์. (2563). การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.