กลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) เสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร โรงเรียนสาขา โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 179 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบการสนทนากลุ่ม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคือ ด้านการบริหาร ด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร และด้านการเงิน สภาพที่คาดหวัง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคือ ด้านการบริหาร ด้านนโยบาย ด้านการเงิน ด้านวิชาการ และด้านบุคลากร 2) การพัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 มี กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงป้องกัน กลยุทธ์เชิงแก้ไข และกลยุทธ์เชิงรับ 3) กลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ การขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และเงื่อนไขความสำเร็จ สรุปเป็น “S-IPEP”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ธมฺมจรถ. (2551). ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย. แหล่งที่มา https://mgronline.com/dhamma/detail/9510000002343 สืบค้นเมื่อ 22 เม.ย. 2566.
พระครูศรีรัตนาภิรัต (ปิยนันท์ ปิยจิตฺโต). (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดพระพุทธศาสนาในภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(3). 177-189.
พระปลัดประพจน์ สุปภาโต (อยู่สำราญ). (2555). การศึกษารูปแบบการบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบรรจง จนฺทคุตฺโต. (2550). คุณภาพการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนตามหลักไตรสิกขา:กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์โกมิน จนฺทาโภ (อินทร์อยู่). (2563). ศึกษาสภาพการบริหารการจัดการของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 1(1). 17-27.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
อัญชลิกา เฟืองฟุ้ง. (2550). การวิเคราะห์ SWOT. สระแก้ว: มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสารสนเทศ สระแก้ว.