ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ภัทรวดี เข้มแข็ง
ระวิง เรืองสังข์
ลำพอง กลมกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักการศึกษา ผู้บริหาร พนักงานครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี  ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน คำนวณจากการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ลักษณะเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแปรค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีวัฒนธรรมองค์กร ด้านการสร้างองค์กรเครือข่าย ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านการมีหลักการบริหารที่ดีและถูกต้อง และด้านการมีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกอางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชวนพิศ สิทธิ์ธาดา. (2552). รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2564). องค์ประกอบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสมรรถนะสูง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2547). ทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฒโน และระวิง เรืองสังข์. (2559). การปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยแนวคิดทางการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 3(1). 59-70.

สมพงษ์ เชือกพรม. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 19(86). 123-139.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Shannon, G Sue & Bylsma, Pete. (2003). Helping Student Finish School: Why Students Drop Out and How to Help Them Graduate. Office of Superintendent of Public Instruction, Olympia, W A.

Wall. (2007). The characteristics of a high performance organization. Business Strategy Series. 8(3). 179-185.