การพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ

Main Article Content

สมศักดิ์ บุญปู่
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
พีรวัฒน์ ชัยสุข
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
ณัชชา อมราภรณ์
วารี โศกเตี้ย
อรุณรัตน์ วิไลรัตนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 2) สร้างพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสังเคราะห์องค์ความรู้จากพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ทางการศึกษา จำนวน 5 พื้นที่ และการจัดกิจกรรมการสนทนากลุ่มย่อย ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตคณะครุศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 13 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เป็นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานกระบวนการเรียนรู้แบบพหุปัญญา บูรณาการความรู้และคุณธรรมจริยธรรมเชื่อมโยงกับภูมิสังคม ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมไทย รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน สร้างสัมมาชีพ สร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รับผิดชอบต่อสังคม โมเดล 6744-Model 2) การสร้างพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถี ประกอบด้วย (1) กายภาพ คือ อาคารสถานที่ ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม (2) กิจกรรมบนพื้นฐานวิถีชีวิต (3) การเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน( 4) บรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ในการปฏิบัติต่อกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนิสิต และ (5) การบริหารจัดการ การกำหนดวิสัยทัศน์ จุดเน้น การกำหนดแผนปฏิบัติการ การสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนา ต่อเนื่อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การพัฒนาผู้เรียนตามวิถีพุทธอย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการหลักไตรสิกขา 3) การพัฒนารูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ ได้รูปแบบกิจกรรมวิถีพุทธพอเพียงใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและวิถีเกษตรยั่งยืน รูปแบบกิจกรรมเดินด้วยเท้า ก้าวไปในบุญ และรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีพุทธตามแผนงานกิจกรรม ใช้คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นฐานในการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูวัฒนสุตานุกูล. (2557). กระบวนการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคณะสงฆ์ไทย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญเลิศ สีลเตโช (จันทร์ทลา). (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนยุคดิสรัปชันของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันเพ็ง ระวิพันธ์ และคณะ. (2562). แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(1). 116-128.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. แหล่งที่มา https://www.ocs.go.th/council-of-state/#/public/doc/VTJGc2RHVmtYMTlkMG5Bdk0v andTdkc5MGlZdWZ1aWhra1drQWlsczFhRT0%3D สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2563.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2558). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

G Ghaith, H Yaghi. (1997). Relationships among experience, teacher efficacy, and attitudes toward the implementation of instructional innovation. Teaching and Teacher Education. 13(4). 451-458.