ความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้ตารางของ Krejcie & Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น PNIModified ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง มีความต้องการจำเป็นทุกด้านอยู่ระหว่าง 0.272-0.285 ในภาพรวม PNIModified =0.277 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญอันดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ รองลงมาอันดับที่ 2 คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล และอันดับที่ 3 คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยเทียบเคียงหลักสูตรมาตรฐานสากล ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ดิเรก วรรณเศียร. (2554). การจัดการศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 7(1). 217-220.
ภาวินทร์ ณ พัทลุง. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. (2555). การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศศิพร รินทะ. (2554). การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในโครงการมาตรฐานสากล :กรณีศึกษาโรงเรียน เมืองคง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีนิพนธ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สิริกานต์ เอื้อธารากุล. (2566). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(2). 543-558.
สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4 th ed. New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Pedder, D. (2006). Organizational conditions that foster successful classroom promotion of learning how to learn. Research Papers in Education. 21(2). 171–200.
Tenner, A.R., & Detoro, I.J. (1992). Total Quality Management: There Step to Continuous Improvement. Addison-Wesley.