แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม กลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 234 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสัมภาษณ์วิธีแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม และใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านภาวะผู้นำทางการศึกษา ด้านการบริหารแหล่งเรียนรู้ และด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม (ปัญญา 3) ประกอบด้วย (1) จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากความคิด ผู้บริหารและครูมีการคิดค้นหาแนวทางการบริหารงานวิชาการ มีวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำในการบริหารและใช้กระบวนการเรียนรู้นวัตกรรมยุคดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ (2) สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง ผู้บริหารและครูมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารและส่งเสริมให้นำนวัตกรรมการเรียนรู้มาใช้งานให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงทางสังคม และ (3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการกระทำหรือลงมือ ผู้บริหารและครูมีการปฏิบัติจากประสบการณ์ตรงในการบริหารหรือเรียนรู้วิธีการพัฒนาปัญญาเป็นบางโอกาสอย่างต่อเนื่อง 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี (ปัญญา 3) ประกอบด้วย (1) จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากความคิด ผู้บริหารและครู ควรมีกระบวนการคิดวิเคราะห์แผนงานการบริหาร มีวิสัยทัศน์ภาวะความเป็นผู้นำในการสร้างกระบวนการเรียนรู้นวัตกรรมยุคดิจิทัลและนำนวัตกรรมมาเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ (2) สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง ผู้บริหารควรตั้งคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารสถานศึกษาและควรส่งเสริมการนำนวัตกรรมยุคดิจิทัลมาใช้ในการบริหารหรือการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น และ (3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการกระทำหรือการลงมือปฏิบัติ ผู้บริหารและครูควรรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารตามหลักพุทธธรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กมลวรรณ คุณาสวัสดิ์. (2560). ศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยะพรพิทยา. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษม แสงนนท์ และคณะ. (2562). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริการโรงเรียนวิถีพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ญาณิศา ดวงสีทอง. (2561). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองใสพรเจริญวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2553). ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธานินทร์ ชินเมโธ (พุกเนียม). (2558). การใช้หลักปัญญา 3 ในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมฉบับพุทธศาสตร์ ประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). รายงานผลการติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2559 ของ คสช. เรื่องร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
สุภาคย์ อินทองคง. (2550). การใช้หลักพุทธธรรมนำการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพองค์รวม. สงขลา: ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ (ศรช.).
สุภานี สินไชย. (2565). กระบวนการพัฒนาครูโค้ชสู่วิถีชีวิตด้วยหลักปัญญา 3 ฐาน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9(2). 431.