แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลกลุ่มโรงเรียนวชิรปราการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กรรณิกา รู้แผน
พีรวัฒน์ ชัยสุข
สุทิศ สวัสดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนวชิรปราการ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มโรงเรียนวชิรปราการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มโรงเรียนวชิรปราการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 108 คน สถิติวิเคราะห์สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี PNI ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ บริหารงานบุคคล บริหารงานทั่วไป บริหารงานงบประมาณ บริหารงานวิชาการ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มโรงเรียนวชิรปราการ ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ผู้บริหารมีการวิเคราะห์แผนพัฒนาการคัดเลือกอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับความต้องการเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรด้านการบริหารทั่วไป ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของหน่วยงาน ด้านบริหารงบประมาณ สถานศึกษามีการวางแผนการจัดทำงบประมาณประจำปี และจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรม และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ ด้านการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษามีการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และตามบริบทของสถานศึกษา 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ดังนี้ (1) การบริหารวิชาการ การสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกระดับ มีระบบช่วยเหลือผู้เรียน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ เปิดโอกาสให้ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วม กำหนดแนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีลักษณะอันเป็นประสงค์เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม (2) การบริหารงานบุคคล มีการจัดสรรตำแหน่งบุคลากร ตามความรู้ ความสามารถ โดยใช้หลักการคุ้มค่าอย่างเป็นธรรมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน มีการพิจารณาความดีความชอบหน้าที่ที่รับผิดชอบ (3) การบริหารงบประมาณ ผู้บริหารใช้หลักนิติธรรมมาบูรณาการกับกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานด้วยความโปร่งใส (4) การบริหารทั่วไป มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และเชิญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องหลักธรรมาภิบาลแก่ผู้เรียนเพื่อนำความรู้เรื่องหลักธรรมาภิบาลไปเรียนรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาและนำไปปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กฤติมา สารรัมย์. (2558). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑามาส นาคปฐม. (2559). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลอิน ทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม เทศบาลเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัสรีน อับดุลเลาะ. (2558). การใช้หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญส่ง เจริญศรี. (2550). การศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม.

ปกรณ์กฤช อินทร์มงคล. (2550). ความพร้อมของข้าราชการครูที่มีต่อการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ภิญโญ สาธร. (2550). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพาณิช.

ราชัญ สมทบ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของการ บริหารงานในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

วราภรณ์ พรมทอง. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารยุคใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศิรินารถ นันทวัฒน์ภิรมย์. (2547). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาล อำเภอเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิลป์ชัย อวงตระกูล. (2553). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สมศักดิ์ แก้วสม. (2549). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2566). มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ. แหล่งที่มา https://www.amlo.go.th/index สืบค้นเมื่อ 10 ก.พ. 2566.