แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2

Main Article Content

อนุวัตร เลิศประวัติ
พระสุรชัย สุรชโย
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 2) เพื่อศึกษาวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ครูที่รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพ จำนวน 96 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) วิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ประกอบด้วย (1) การควบคุมคุณภาพการศึกษาภายใน กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ วิเคราะห์และกำหนดบทบาทของบุคลากร รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งหมด ดำเนินการตามแผน กำหนดทีมทำงานที่เหมาะสมในการจัดทำมาตรฐาน สร้างบรรยากาศที่เชิงประสานและเปิดกว้างทางความคิดเห็น บูรณาการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน (2) การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ ขยันหาความรู้พัฒนาบุคลากรด้านประกันคุณภาพสม่ำเสมอ หาแนวทางการตรวจสอบที่เหมาะสมและดีที่สุด กำหนดระยะเวลาและแนวทางการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน ตรวจสอบความสอดคล้องกับมาตรฐานทางการศึกษาและปรับปรุงแผนการเรียนการสอน จัดทำเอกสารหลักฐาน เก็บหลักฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ (3) การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน พัฒนาผลการประเมินของตนเองในรอบปีนั้นๆ ปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอนการประกันคุณภาพสถานศึกษาภายใน วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพที่ได้รับ กำหนดแผนการปรับปรุงที่รวมถึงกิจกรรมและเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา อบรมและพัฒนาครูและบุคลากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็น สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะทั้งทางวิชาการและทักษะทั่วไป และ 3) แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ประกอบด้วย (1) การควบคุมคุณภาพการศึกษาภายใน สร้างบรรยากาศที่เชิงประสานและเปิดกว้างทางความคิดเห็นบูรณาการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ วิเคราะห์และกำหนดบทบาทของบุคลากร กำหนดทีมทำงานที่เหมาะสมในการจัดทำมาตรฐาน (2) การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพด้วยการจัดทำเอกสารหลักฐาน เก็บหลักฐานอย่างเป็นระบบ ขยันหาความรู้พัฒนาบุคลากรด้านการประกันคุณภาพสม่ำเสมอ หาแนวทางการตรวจสอบที่เหมาะสมและดีที่สุด ตรวจสอบความสอดคล้องกับมาตรฐานทางการศึกษาและปรับปรุงแผนการเรียนการสอน (3) การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน พัฒนาผลการประเมินของตนเองในรอบปีนั้นๆ อบรมและพัฒนาครูและบุคลากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็น สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะทั้งทางวิชาการและทักษะทั่วไป ปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอนการประกันคุณภาพสถานศึกษาภายใน วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพที่ได้รับเพื่อนำมาปรับปรุงการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพล ชุมวรฐายี. (2545). บันไดสู่การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

นุจนาจ ขุนาพรม. (2560). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2544). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาลิช ลีทา. (2559). สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมประสงค์ ยมนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2542). ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุภัค พวงขจร, ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ และอนุชา กอนพ่วง. (2561). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 11 (3). 115–129.