แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรม 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรม จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรมในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และมีรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการบูรณาการภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ การร่วมวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติงาน การร่วมวางแผนบริหาร การร่วมพัฒนาสถานศึกษา การร่วมกำกับติดตามและประเมินผล กับหลักฆราวาสธรรม 4 คือ (1) สัจจะคือความจริง (2) ทมะคือการฝึกฝน (3) ขันติคือความอดทน (4) จาคะคือความเสียสละ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติงาน คือ ผู้บริหารเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจ ฝึกทักษะแก้ปัญหา กำหนดแผนงานด้วยความเสียสละ (2) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมวางแผนบริหาร คือ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริต จัดระบบการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมพัฒนาสถานศึกษา คือ ผู้บริหารเปิดใจรับฟังความคิดเห็น ฝึกฝนทักษะคำถาม พัฒนาสถานศึกษาด้วยความเสียสละ (4) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมกำกับติดตามและประเมินผล คือ ผู้บริหารติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร กำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน อดทนความยากลำบากในการรวบรวมข้อมูล เสียสละความสุขส่วนตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กฤษดา ผ่องพิทยา. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ของคุณลักษณะของภาวะผู้นําที่พึงประสงค์พฤติกรรมภาวะผู้นําที่พึงประสงค์และปัจจัยชีวสังคมของผู้บริหารโรงเรียนขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กัลยานี บัณฑิชาติ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาสมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชาลิกา ฮีมีนกูล. (2562). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณฤดีณัฏฐา รัตนกระจ่างศิลป์. (2564). รูปแบบการบริหารตนตามหลักฆราวาสธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 4(1). 176-186.
ประทีบ บินชัย. (2556). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นําตามแนวภาวะผู้นําพิสัยสมบูรณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระครูปลัดณัฐวัฒน์ อธิปญฺโญ (อนุหนายนน์). (2562). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม 4 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส). (2557). การวิเคราะห์ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมโรงเรียนวิถีพุทธระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมถวิล ชูทรัพย์. (2550). การพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment: An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.