ศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาพระธรรมเทศนาพื้นเมือง เรื่อง มหาวิบากกับจูฬกัมมวิภังคสูตร

Main Article Content

พระปลัดอภิรักษ์ อินฺทวิสุทฺโธ (อินต๊ะสาร)
พระครูวรวรรณวิฑูรย์
ชูชาติ สุทธะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับธรรมเทศนาเรื่องมหาวิบาก ฉบับวัดศรีโคมคำ 2) เพื่อศึกษาหลักกรรมและสังสารวัฏตามแนวจูฬกัมมวิภังคสูตร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบาก ฉบับวัดศรีโคมคำ กับจูฬกัมมวิภังคสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบากนิยมใช้เทศน์ให้แก่ผู้ป่วยหนักและในงานศพ มีความเชื่อว่าเมื่อนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์ให้ผู้ป่วยหนักได้ฟังแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับอานิสงส์ในการฟังพระธรรมเทศนา หากผู้ป่วยมีบุญที่จะมีอายุยืนยาว อาการป่วยก็จะดีขึ้นและหายป่วย ถ้าหากถึงแก่อายุขัยของผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยก็จะจากไปด้วยอาการอันสงบ และเมื่อมีผู้เสียชีวิตก็มีการแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องมหาวิบาก เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต โดยมีความเชื่อว่า ถ้าดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตยังเสวยผลวิบากในทางทุกขเวทนา การนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องมหาวิบากก็จะทำให้ดวงวิญญาณพ้นจากทุกขเวทนาได้ 2) หลักความเชื่อเรื่องกรรมและสังสารวัฏที่ปรากฎในจูฬกัมมวิภังคสูตร มีหลักอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน โดยผลของกรรมดีและกรรมชั่วจะส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏและได้รับผลแตกต่างกันตามกรรมที่ทำ 7 คู่ ได้แก่ การมีอายุยืนและอายุสั้น การมีโรคมากและมีโรคน้อย การมีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม การมีอำนาจน้อยและมีอำนาจมาก ความยากจนและความร่ำรวย การมีชาติตระกูลต่ำและชาติตระกูลสูง และการเป็นคนโง่เขลากับการเป็นคนฉลาด เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากกรรมที่ทำไว้ในอดีต 3) การเปรียบเทียบเนื้อหาธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบากกับจูฬกัมมวิภังคสูตร พบว่า ความเชื่อหลักยังคงเป็นความเชื่อในกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ตามอำนาจผลของกรรมดีหรือชั่ว เพียงแต่อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างในการรับผลของกรรมและสาเหตุที่ทำในอดีตและผลของกรรมในปัจจุบัน จำนวน 8 ประเภท เนื้อหาที่เหมือนกันในส่วนผลของกรรมในปัจจุบัน แต่เหตุที่ทำไว้ในอดีตต่างกัน จำนวน 4 คู่ 8 ประเภท นอกจากนั้น ยังมีเนื้อหาที่ปรากฏเฉพาะในพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบาก ฉบับวัดศรีโคมคำ แต่ไม่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร จำนวน 18 ประเภท และเนื้อหาที่ปรากฏเฉพาะจูฬกัมมวิภังคสูตร จำนวน 3 ประเภท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถาวร เสาร์ศรีจันทร์. (2560). มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศิริวัฒนากราฟฟิค.

ทองทวี ยศพิมสาร. (2553). ฮีตคนเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 8. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

บุญมี แท่นแก้ว. (2547). ประเพณีและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พระครูอดุลสีลกิตติ์ (ประพัฒน์ านวุฑฺโฒ). (2549). “การศึกษาของสามเณรและพระภิกษุหลังการบวช”. ใน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในล้านนา ฉบับ 635 ปี พระบรมธาตุดอยสุเทพ. เชียงใหม่: มูลนิธิพระบรมพระธาตุดอยสุเทพ.

พระธรรมปิฏก, (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนคร ปญฺาวชิโร (ปรังฤทธิ์). (2557). วิถีเทศน์ในล้านนา. เชียงใหม่: หจก.ซีเอ็มมีเดีย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระมหาสิงค์คำ สีหวีโร. (2556). ฮีตคนเมือง ฉบับสัปป๊ะเรื่องเมืองล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

พระศรีสมโพธิ. (2565). ศาสนวงศ์ หรือ ประวัติศาสนา. กรุงเทพมหานคร: เอกพิมพ์ไท.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.