ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการกินอ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและขั้นตอนพิธีกรรมการกินอ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาคุณค่าของการทำพิธีกรรมการกินอ้ออ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพระพุทธศาสนาในพิธีกรรมการกินอ้ออ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมการกินอ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีประวัติความเป็นมา ซึ่งถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อและจารีตประเพณีดั้งเดิมกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถูกบันทึกไว้ในปั๊บสา พิธีกรรมการกินอ้อผญาเป็นกุศโลบายเสริมสร้างกำลังใจ ลดความกังวล ลบปมด้อยในใจ โดยเชื่อว่าผู้ที่ดื่มกินจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เรียนรู้ได้รวดเร็ว มีความจำในการเรียนวิชาต่างๆ การกินอ้อผญาเป็นการสร้างเสริมภูมิพลังทางด้านจิตใจ ให้มีความเชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตนเอง มีขั้นตอนพิธีกรรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการประกอบพิธีกินอ้อผญา 2) คุณค่าของการทำพิธีกรรมการกินอ้อผญา มี 5 ประการ คือ คุณค่าทางด้านจิตวิทยา, ด้านสังคม ด้านจารีตประเพณีและพิธีกรรม, ด้านเศรษฐกิจ, และด้านสิ่งแวดล้อม 3) หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาในพิธีกรรมการกินอ้อผญา คือ หลักคารวธรรม 6 ประการ ได้แก่ สัตถุคารวตา, ธัมมคารวตา, สังฆคารวตา, สิกขาคารวตา, อัปปมาทคารวตา, และปฏิสันถารคารวตา พิธีกรรมการกินอ้อผญาดังกล่าวยังคงมีความสำคัญต่อชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน เพราะสามารถเป็นทั้งจารีตประเพณีท้องถิ่นที่เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างขวัญและกำลังใจในการเรียนรู้และแฝงไว้ด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในกระบวนการประกอบพิธีกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้. (2526). ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). บทความเศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/302921 สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค. 2566.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2567). พิธีกรรม ใครว่าไม่สำคัญ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
พระมหาสิงห์คำ สีหวีโร. (2556). ฮีตคนเมือง ฉบับสัปป๊ะเรื่องเมืองล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์คณะบุคคล.
พระมหาหมวด สกฺกธมฺโม (โฉมศรี). (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องความเคารพในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย.
พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์ และคณะ. (2557). สืบชะตาล้านนา: แนวคิดและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและจิตวิญญาณของชุมชนในล้านนา. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภริมา วินิธาสถิตกุล. (2558). คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 1(1). 40.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย: ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.