การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับการการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยการทดสอบแอลเอสดี และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อันดับ 2 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และอันดับ 3 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ตามลำดับ 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กาญจนา แก้วสนิท. (2554). โลกาภิวัฒน์กับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. การค้นคว้าอิสระนิติศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนวัฒน์ คำภีลานนท์. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชน ในการพัฒนาท้องถิ่น เขตเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
นัทธี จิตสว่าง. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการพลเรือนสามัญของไทยในทศวรรษหน้า. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปัญชนา เสนาคุณ. (2564). การมีส่วนร่วมของผู้รักษาความปลอดภัยในชุมชนเพื่อการป้องกันอาชญากรรมของเมืองมหาวิทยาลัยในชุมชนหมู่บ้านเมืองเอก จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
วัฒนชัย คีรีนิล. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในเขตพื้นที่สถานีตำรวจอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ศิวฤทธิ์ พันธุระ. (2565). การมีส่วนร่วมในการป้องกันนักอาชญากรรมของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 12(2). 25-40.
สถานีตำรวจภูธร อำเภอวิเศษชัยชาญ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดอ่างทอง (พ.ศ. 2561 – 2565). แหล่งที่มา https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38/DRAWER081/GENERAL/DATA0000/00000280.PDF สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2565.
สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์. (2532). การพัฒนาสังคม: แนวทางการพัฒนาชุมชนชีวิตใหม่สู่งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
สำนักสถิติจังหวัดอ่างทอง. (2565). บริหารการสนสนเทศ. แหล่งที่มา https://angthong.nso.go.th/ สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2565.
สุวัตถ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2560). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในเขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรเมืองมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อารยฤทธิ์ พรหมมะ. (2565). การรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบวิธีหลอกรักออนไลน์ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันหาคู่และพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกพงษ์ ทิปะณี. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.