หลักพุทธธรรมกับกลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาโดยใช้หลักการกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบริหารงานได้อย่างอิสระ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการในด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป ภายใต้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการ ประกอบด้วย คณะกรรมการโรงเรียน ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องดำเนินการตามกลยุทธ์และอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องจึงจะประสบความสำเร็จได้ ผู้เขียนได้นำหลักปาปณิกธรรม 3 มาปรับใช้กับกลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ดังนี้ 1) จักขุมา ความรอบรู้ในการบริหาร 2) วิธูโร การมุ่งมั่นต่อการดำเนิน 3) นิสสยสัมปันโน การระดมความคิดเห็น การบริหารโดยยึดหลักธรรมนี้จะช่วยส่งเสริมให้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น บรรลุสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือประเมินการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. แหล่งที่มา https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/3.-พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542-ฉ.2.pdf สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2567.
จิตราภา กุณฑลบุตร. (2548). รายงานการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดิเรก วรรณเศียร. (2554). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน: คำตอบสุดท้ายของการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 7(2). 213-222.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทราวุธ มีทรัพย์มั่น. (2556). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับคุณภาพการจัดศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2555). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์.
อำนวย ทองโปร่ง. (2555). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดี.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบฐานโรงเรียน (S-B-M). กรุงเทพมหานคร: พระรามสี่การพิมพ์.
Cheng, Yin Cheong. (1996). School Effectiveness and School-based Management: A Mechanism for Development. London: The Falmer.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2005). Educational Administration. New York: McGraw-Hill.