การประยุกต์อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอของชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอของชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อระดับการประยุกต์อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอของชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอของชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 367 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการประยุกต์อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอของชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การมีใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) และด้านที่มีการปฏิบัติมาก 4 ด้าน คือ การมีใจรักในสิ่งที่ทำ (ฉันทะ) การบริหารจัดการ ความมุ่งมั่นทุ่มเท (วิริยะ) และการทบทวนในสิ่งที่ทำอย่างมีวิจารณญาณ (วิมังสา) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อระดับการประยุกต์อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอของชาวไท-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ และรายได้ มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ การศึกษา และอาชีพ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ชาวไท-ยวนขาดมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอ ขาดเครือข่ายการบริหารจัดการ ขาดความเข้าใจการทำงานกันเป็นทีม ไม่พัฒนาฝีมือทอผ้าที่เป็นนวัตกรรม ภาครัฐไม่ส่งเสริมการบริหารจัดการหัตถกรรมผ้าทอ ไม่ส่งเสริมพัฒนาฝีมือการหัตถกรรมทอผ้า ไม่เอื้อเฟื้อบริหารจัดการธุรกิจ ไม่พัฒนาฝีมือทอผ้าให้มีการคิดวิเคราะห์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีเห็นคุณค่าและประโยชน์หัตถกรรมผ้าทอ ควรมีทัศนะคติที่ดีมีความรับผิดชอบในการทำงานรู้จักทำงานเป็นทีม ควรมีความรอบคอบมีความรู้หมั่นเรียนรู้ในหัตถกรรมทอผ้า รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มมูลค่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชาตรี แนวจำปา. (2553). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทศพร ประเสริฐสุข. (2543). ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา. วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. 2(1). 8-19.
นิเทศ ตินณะกุล. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระปลัดสายชล จิตฺตกาโร. (2556). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ตามหลักอิทธิบาท 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 18. นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
พระสุนันท์ กิตฺติสทฺโท (สายพิมพ์พงษ์). (2551). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการทำงานศึกษากรณีผู้ทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเอกพันธ์ ธีรภทฺโท. (2554). การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักงาน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ ตั้งใจ. (2553). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษา บริษัท แอมพาสอินดัสตรี จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รสา สุนทรายุทธ. (2562). การออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับชุมชนหัตถกรรมท้องถิ่นผ้าจก ไทยวน จังหวัดราชบุรี เพื่อขยายกลุ่มงานผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งภายในด้วยนวัตกรรมขึ้นรูปผ้าด้วยแม่พิมพ์และสิ่งทอสีเขียว. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชญาภา เมธีวรฉัตร. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4: กรณีศึกษาโรงเรียนคีรีวงศ์วิทยา จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี. (2550). ฅนราชบุรี. ราชบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี.
อุดม สมพร. (2540). ผ้าจกไทยวน-ราชบุรี. ราชบุรี: โรงพิมพ์การพิมพ์.