การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา

Main Article Content

เพ็ญสุดา มังกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้รับผิดชอบในการสอน มีเครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าซี (Z-test) แบบ One group และการทดสอบค่าซี (Z-test) แบบไม่อิสระจากกัน (Dependent) ผลการศึกษาพบว่า1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์คือ 86.30/84.49 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.6925 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0. 6925 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.25 และ 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2551). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2554). ประมวลสาระชุดวิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์ หน่วยที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ศราวุฒิ ขันคำหมื่น. (2553). การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์เรื่องสภาพสมดุล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน. 2(2). 12-15.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: โครงการ PISA 2012. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

Bonwell, C. C., and Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ERIC Digests. Washington D.C.: George Washington University.