รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

เพ็ญสุดา มังกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล ของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณวิทยาศาสตร์ราชวิทยาลัย ชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้รับผิดชอบในการสอน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แผนจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E)
4)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าซี (Z-test) แบบ One group และการทดสอบค่าซี (Z-test) แบบไม่อิสระจากกัน (Dependent) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและแม่เหล็ก เรื่อง ไฟฟ้าแม่เหล็ก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  คือ  84.33/83.38  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.708 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70.80 3) นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้เอกสารประกอบการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่ม 1 หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชุติมา สัจจานันท์. (2542). เทคนิคการเขียน การพิมพ์ และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี (2554). หลักสูตรโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2554. ชลบุรี: โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2525). พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

โสภณ ณ พัทลุง. (2537). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตำรวจ สังกัด กองบัญชาการตำรวจภูธร 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

Hovland, C. T. Lumsdaine, A. A. and Sheffield, T. A. (1949). The Effectiveness Index as in Educational Technology. Educational Technology. 20(9). 30-34.