แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรม โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรม ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ใช้กลุ่มตัวอย่างการวิจัยที่เป็นครู 86 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการคิด ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรม ควรจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ ตั้งคำถาม แล้วหาคำตอบร่วมกัน ผ่านการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน แบบใช้โครงงานเป็นฐาน หรือแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยบูรณาการใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของนักเรียน
3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรม มีแนวทางดังนี้ อธิสีลสิกขา คือ ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ มีวินัย สื่อสารด้วยท่าทีสุภาพ มีศีล 5 เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต อธิจิตตสิกขา คือ การถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ และทัศนะของตนได้อย่างมีสติ ใช้สติในการช่วยเหลือเกื้อกูลและแก้ปัญหาในชีวิต เอาใจใส่ ไม่ปล่อยปะละเลยงานของตน อธิปัญญาสิกขา คือ ใช้ปัญญาเลือกรับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และตัดสินใจอย่างมีวิจารญาณ ประยุกต์ปัญญาความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ใช้ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีได้อย่างอย่างสร้างสรรค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ. (2562). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-1: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3). 371-386.
ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.
บัณฑิกา จารุมา และพยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 6(1). 406-413.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
พระครูโสภณปริยัตยานุกิจ (อาทิตย์), สิริวัฒน์ ศรีเครืองดง และสุวัฒสัน รักขันโท. (2564). ทักษะการใช้ชีวิตในสถานการณ์โควิด 19 ตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2). 409-410.
พระมหาจักรพล สิริธโร. (2564). การศึกษาในยุค New Normal. Journal of Modern Learning Development. 6(6). 355-357.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รมณภัทร กตตน์วงศกร. (2557). การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางจากโกมลประเสริฐอุทิศ สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ภาวัง. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ, มาเรียม นิลพันธุ์, อนิรุทธ์ สติมั่น และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 11(11). 130-130.