แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2

Main Article Content

พระสรศักดิ์ สมนฺตปาสาทิโก
เผด็จ จงสกุลศิริ
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 เป็นการวิจัยวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสำหรับตอบแบบสอบถาม ทำการสุ่มโดยใช้สูตรของ Taro Yamane จากผู้บริหารโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน จำนวน 102 ราย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 9 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.97 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งสองฉบับ เท่ากับ 0.846 และ 0.878 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 ความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 ความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเมตตา 3) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ได้แก่ (1) ควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีและปรารถนาดีต่อผู้ร่วมงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ สร้างแรงจูงใจภายในให้บุคลากรทางการศึกษาตระหนักและเห็นความสำคัญในทำงานตามวิสัยทัศนและเป้าหมาย (2) ควรมีการพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้ความรักความปรารถนาดีต่อองค์กร สร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรมีความอดทนและเสียสละ (3) ควรมุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลชองงานเป็นสำคัญ เคารพยินดีในสิทธิของผู้ร่วมงาน มีทักษะการสร้างแรงบันดาลใจ การบำเหน็จความชอบบุคลากรต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และ(4) ควรให้คำแนะนำการปฏิบัติงานแก่บุคลากรอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีความมั่นคงในอารมณ์ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นด้วยความยินดีและใช้ปัญญาพิจารณาตัดสินอย่างเที่ยงธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัชชา คุ้มเงิน. (2564). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธวัชชัย ตรีวรชัย และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 23(1). 71-81.

นันทพร ทองเชื้อ, มิตภาณี พุ่มกล่อม และพงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2565). การบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(1). 90-102.

นุชจรี จันทวาท, สมใจ เดชบำรุง และสมบัติ เดชบำรุง. (2560). การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานวิชาการในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7(3). 77-90.

บุญญาพงษ์ ดวงมาลย์, พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส และสุนทร สายคำ. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development. 6(1). 250-262.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และการปฏิบัติ. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.

วงนภา เกียรติเมธี และนพดล เจนอักษร. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 204-214.

สมศรี เณรจาที และวัชรี ชูชาติ. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 14(27). 1-11.

สามารถ อัยกร. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง: วิถีปฏิบัติของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2(1). 117-142.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส.

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2565). ว่าด้วยความไม่แน่นอนและการจัดการความเสี่ยง. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_10Jul2021.pdf สืบค้นเมื่อ 2 ก.พ. 2565.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรอุษา มหาสุวรรณ. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินท์.

Bass, B.M. & A Volio, B.J. (1999). Transformational Leadership. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Victor H. Vroom. (1970). Management of Behavioral and Motivation. Baltimore: Penguin.

Yukl, Gary A. (2010). Leadership in Organizations. 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall.