แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอ่างทอง 194 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร ครู จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดริเริ่ม โดยมีความสามารถคิดแก้ปัญหาได้รวดเร็วในการปฏิบัติงาน ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที สามารถที่จะพยายามคิดได้หลายอย่างอย่างอิสระ มีลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา 2) วิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทอง ในด้านความคิดยืดหยุ่นซึ่งเป็นด้านที่น้อยที่สุดของระดับความคิดสร้างสรรค์ ในส่วนข้อที่น้อยที่สุด 2 อันดับ คือ (1) ความคิดในรายละเอียด เพื่อตกแต่ง หรือขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการพิจารณาเห็นกาย มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ การเรียนรู้สิ่งภายนอกพิจารณาให้เข้าใจความจริง เห็นจิต แลเห็นธรรม มีความคิดในรายละเอียด เพื่อตกแต่ง หรือขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (2) มีความสามารถคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างคลองแคล้วทันสถานการณ์ มีสติเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างคล่องแคล้วทันสถานการณ์ การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สติเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ มีความสามารถคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างคลองแคล้วทันสถานการณ์โดยนำทักษะอื่นๆ มาเป็นตัวช่วยได้การแก้ปัญหา 3) แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของครูการศึกษาพิเศษจังหวัดอ่างทองเน้นด้านความคิดยืดหยุ่น ได้แก่ สามารถที่จะพยายามคิดได้หลายอย่างอย่างอิสระ รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วยเหตุผลได้เสมอ คิดได้หลากหลาย และสามารถคิดดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ดี พิจารณาเห็นกาย มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ การเรียนรู้สิ่งภายนอกพิจารณาให้เข้าใจความจริง พิจารณาเห็นจิต แลเห็นธรรม มีความคิดในรายละเอียด เพื่อตกแต่ง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างคล่องแคล้วทันสถานการณ์ มีกระบวนการในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้นใช้เหตุผลในการตัดสินใจไม่ยึดติดวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ นำทักษะอื่นๆ มาเป็นตัวช่วยได้การแก้ปัญหา มีสติเป็นพื้นฐานในการคิดหาแนวทาง เหตุผลในการแก้ไข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ประภาศรี นันท์นฤมิต. (2564). การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย. 3(1). 51-68.
ประเวศ วะสี. (2550). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: แปลนพริ้นท์ติ้ง.
ประเสริฐ บุญเรือง. (2552). เอกสารฝึกอบรมคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่. นครปฐม: สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาวัดไร่ขิง.
ปิยะดา เนียมสุวรรณ. (2564). การศึกษาการจัดการการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). ธรรมะฉบับเรียนลัด. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 43. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สุฤทธิ์ บุญรอด. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Chaiya Hongnee. (2555). การศึกษาสำหรับคนพิการ. (2565). แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/164054. สืบค้นเมื่อ 28 ก.พ. 2565.