สภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้สอบถามผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 162 คน มีเครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 4 ด้านโดยภาพรวมผู้บริหารและครูโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดเอกชนจังหวัดเพชรบูรณ์มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านพัฒนาการด้านสังคม ด้านพัฒนาการด้านอารมณด้านพัฒนาการด้านสติปัญญา และด้านพัฒนาการด้านร่างกายเด็กมีการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ มีการรักษาสุขภาพ อนามัยส่วนตน และมีการใช้กล้ามเนื้อเล็ก มีสุนทรียภาพ ดนตรี มีการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีการแสดงออกทางอารมณ์ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีการมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม และมีการยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีเจตคติทีดีต่อการเรียนรู้ มีการคิดรวบยอดการคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและ แก้ปัญหา และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็ก 3-6 ปี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวพุทธสำหรับเด็กปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คนึง สายแก้ว. (2549). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยในจังหวัดสุรินทร์. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เนตรชนก วิภาตะศิลปิน. (2559). รูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามหลักไตรสิกขาในโครงการสามเณรปลูกปัญญาธรรม. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2539). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหา. (2552). คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพมหานคร.
วิลาวรรณ พิมประสงค์. (2563). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/ppvilawan21/thaksa-haeng-stwrrs-thi-21 สืบค้นเมื่อ 24 ก.ค. 2563.
Natthakorn. (2564). ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย. แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/fihakhwamru/kar-suksa-radab-pthmway สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 2564.