การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

ช่อมาลัย คงศิริ
พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา กิตติญาโณ)
พระสุรชัย สุรชโย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของครู 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 และ 3) เพื่อเสนอการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามครูในโรงเรียนสังกัดโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 320 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ สื่อการเรียนการสอน วัดผลและประเมินผลการศึกษา หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ 2) การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีการกระชับหลักสูตร ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทราบ เน้นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องและท้าทาย เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาและความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครองแต่ละคน เลือกใช้สื่อที่เหมาะกับนักเรียน และความพร้อมของผู้ปกครอง ยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนาเพื่อไม่ให้เด็กเสียโอกาสพัฒนาความรู้และทักษะ ครูเปิดโอกาสให้เด็กย้อนคิดถึงกระบวนการเรียนของตนเอง 3) แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 การมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กระชับหลักสูตร สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมวาง สำรวจความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนสนับสนุนด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาตนเองในการใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ เลือกใช้สื่อที่เหมาะกับนักเรียน และความพร้อมของผู้ปกครอง ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าทางการเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและยืดหยุ่น ยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน. แหล่งที่มา https://moe360.blog/2020/05/08/ สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2565.

ครูบ้านนอก.คอม. (2565) จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา https://www.kroobannok.com/89747 สืบค้นเมื่อ 28 มี.ค. 2565.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 ระดับมัธยมศึกษาพื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรวรรณ มาดี. (2537). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รัตนา กาญจนพันธ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์ วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วิทยาลัยหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรเชษฐ์ จันทรภิรมย์. (2546). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อำนวย แย้มสะอาด. (2538). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนเขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2538). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Van Miller. (1965). The Public Administration of American School. New York: Macmillan Publishing Company.