การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระใบฎีกาสนธยา ธมฺมวโร
พระครูวิสุทธานันทคุณ
พระสมุทรวชิรโสภณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชน (อายุ 18 ปีขึ้นไป) อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านชายราง ชุมชนตำบลดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 293 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตมีรายจ่ายมกกว่ารายรับทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้ทั้งในระบบและนอกระบบผู้นำชุมชนแต่ละคนมักมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันซึ่งทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับส่วนร่วมของชุมชนมีการพัฒนาช้าในบางอย่างความมีเหตุผลของผู้นำชุมชนไม่เหมือนกันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในชุมชนซึ่งทำ ให้ความพร้อมเพียงในการพัฒนาชุมชนบางอย่างไม่รงตัวกันในการบริหารงานต่างๆ ขาดผู้เชียวชาญการให้คำแนะนำในการพัฒนาและความรู้ด้านต่างๆ ทำให้การพัฒนาไม่ดีพอ และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า ส่งเสริมอบรมให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนให้มีการใช้จ่ายในการดำรงชีวิตภายในกรอบรายได้ของตนเอง และหลีกเลี่ยงการเสียค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น การพิจารณาแก้ไขบัญหาอย่างถูกวิธีและรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกันเมื่อเกิดบัญหาเล็กน้อยภายในชุมชน ปลูกฝังให้คนในชุมชนมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด ความชื่อสัตย์สุจริต มีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ ให้โอกาสกับผู้ที่เคยทำพลาดรณรงค์ให้คนในชุมชนเข้าวัดปฏิบัติธรรม และเปิดโอการให้คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เกษม วัฒนชัย. (2558). การเรียนรู้แท้และพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2556). บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมให้ประชาชนดูแลตนเอง. ใบลาน. 4(7). 34-36.

พระครูสุจิณธรรมนิวิฐ (สมจิตร อธิปญฺโญ). (2554). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน : กรณีศึกษาคณะสงฆ์อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์อนุรักษ์ ธีรสกฺโก. (2556). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวปรัชญาเศรษกิจพอเพียงในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการนินนาท สนฺตจิตฺโต (เชียงวงค์). (2564). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในตำบลบ้านเลือกอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิซุตตา ชูศรีวาส. (2559). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ.

ศาลินา บุญเกื้อ และนันทกาญจน ชินประหัษฐ. (2557). การถอดบทเรียนและวิเคราะห์: อัตลักษณ์ศูนย์การเรียนรูตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. รายงานการวิจัย. ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกรวย. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). แหล่งที่มา http://dky.go.th/public/centermodules/data/loadattach/id/273/seq/7 สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2564.

อภิชัย พันธเสน.(2558). พุทธเศรษฐศาสตร์วิวัฒนาการและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ทองเกษม.

อุเทน เจริญภูมิ. (2561). การประยุกต์ใชหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารชุมชนวิจัย. 12(1). 191-202.