การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย)

Main Article Content

พระใบฏีกามงคล ปญฺญฺาทีโป
พระครูวิสุทธานันทคุณ
พระสมุทรวชิรโสภณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย 2) เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 รูป/คน โดยสัมภาษณ์เจาะลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของของคณะสงฆ์ไทย เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิจการในฝ่ายพุทธจักรเพื่อประสานกับฝ่ายอาณาจักร ในการร่วมมือร่วมแรงกัน พัฒนาชุมชนให้มีความเจริญ ได้ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยความตั้งใจและให้เกิดความเป็นธรรมเป็นประโยชน์ ที่เกิดแก่ชุมชนต้องมีความรอบรู้ และรอบคอบในการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เพื่อสาธารณประโยชน์ให้เกิดในวงกว้าง มีช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือสังคมตามความสามารถ การประสานความช่วยเหลือให้ความสะดวกหรือการบริการประชาชน แก้ไขข้อขัดข้องความเดือดร้อน ที่เมื่อคราวที่ประชาชนหรือชุมชนได้รับความลำบากและต้องการความช่วยเหลือ 2) แนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประสานความร่วมมือในทุกภาคส่วนของสังคม และต้องประมวลข้อปัญหาและอุปสรรค เพื่อที่จะได้สังเคราะห์ปัญหาที่มีอยู่ตกผลึกความคิด วางกรอบแนวทางการพัฒนา และต้องมีความต่อเนื่องในการพัฒนา มีระบบของการวางแผนงานที่ดี โดยวางแผนเรื่องการจัดการแผนทุกหน้าที่ให้เกิดความสมดุลตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่วางไว้ มีการวางแผนที่มีความร่วมมือและการร่วมใจของคนในชุมชน ในแนวทางและแนวความคิดและการปฏิบัติที่ต้องสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เป็นแกนหลักในการประสานความสามัคคีของคนในชุมชน และหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และความเข้าใจในบริบทต่างๆ ของชุมชนและประชาชนทั่วไป เป็นการกำหนดแผนการพัฒนาให้ สอดคล้องกับความเป็นจริงได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น 3) แนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของ พระครูพิศิษฎ์ประชานารถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประสานความร่วมมือในทุกภาคส่วนของสังคม และต้องประมวลข้อปัญหาและอุปสรรค เพื่อที่จะได้ สังเคราะห์ปัญหาที่มีอยู่ตกผลึกความคิด วางกรอบแนวทางการพัฒนา และต้องมีความต่อเนื่องใน การพัฒนา มีระบบของการวางแผนงานที่ดี โดยวางแผนเรื่องการจัดการแผนทุกหน้าที่ให้เกิดความ สมดุลตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่วางไว้ มีการวางแผนที่มีความร่วมมือและการร่วมใจของคน ในชุมชน ในแนวทางและแนวความคิดและการปฏิบัติที่ต้องสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เป็น แกนหลักในการประสานความสามัคคีของคนในชุมชน และหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง มี ความรู้และ ความเข้าใจในบริบทต่างๆ ของชุมชนและประชาชนทั่วไป เป็นการกำหนดแผนการ พัฒนาให้ สอดคล้องกับความเป็นจริงได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกต ชาบัณฑิต. (2562). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2557). แผนการกู้อิสรภาพของเจ้าชายสิทธัตถะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2541). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2556). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโกวิทสุตาภรณ์ (สมดี โกวิโท). (2565). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์กับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในจังหวัดหนองบัวลำภู. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูประภัสร์สิทธิคุณ (ประสิทธิ์ ปภสฺสโร). (2555). บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิศาลธีรธรรม (สุรพรหม). (2561). ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยผ่านกระบวนการศึกษา ในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสิริธรรมบัณฑิต. (2564). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกผ่านสื่อสังคมของวัดมิ่งเมืองมูล. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2556). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

พระมหาสมชาย กลิ่นจันทร์. (2560). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การพัฒนารูปแบบและวิธีการเชิงรุกของคณะสงฆ์ไทย. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสันติ ฐานวโร (ประสพสุข). (2560). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชเมธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2555). การพัฒนาพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ดำรงการพิมพ์.

อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขา ต่างๆ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.