การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระภูกิจ ภูริสีโล
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
พระครูวาทีวรวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี ระเบียบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากนักเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี จำนวน 216 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มี่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์ มากทั้ง 8 ด้าน คือ (1) ความขยัน (2) ความประหยัด (3) ความซื่อสัตย์ (4) ความมีวินัย (5) ความสุภาพ (6) ความสะอาด (7) ความสามัคคี และ (8) ความมีน้ำใจ และด้านความมีน้ำใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ด้านความประหยัดต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากกับ 4.08 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ ผลการเรียน อาชีพผู้ปกครอง และผู้ปกครองมีรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์ แก่นักเรียนโรงเรียเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี พบว่า นักเรียนไม่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่มีการวางแผนในการจับจ่ายใช้สอยสิ่งของต่างๆอย่างรู้คุณค่า นักเรียนมีการช่วยเหลือเพื่อนฝูงในทางที่ผิด เช่น การให้ลอกการบ้าน การบ้านนักเรียนบางคนไม่มีการวางแผนในการทำการบ้านและบางกลุ่มไม่ทำการบ้านมาส่งในห้องเรียน ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี คือ ครูพระสงฆ์แลผู้ปรกครอง ต้องมีการร่วมมือในการปลูกฝังให้นักเรียนมีพฤติกรรมความประพฤติ ให้มีคุณลักษณะทั้งแปดด้านทั้งในโรงเรียนและอยู่ที่บ้าน และพระสงฆ์ควรนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ให้สามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยเน้นถึงความเข้าใจของนักเรียนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมต้องให้มีความทันยุคสมัยในปัจจุบันให้เห็นคุณค่าถึงความสำคัญความจำเป็นในการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติพงษ์ แซ่เจียว. (2556). การศึกษาบุญนิยมกับคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียนเครือข่ายโรงเรียนสัมมาสิกขา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศีลปกร.

ธีปภา สารพงษ์. (2562). การพัฒนาการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านขวัญพัฒน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราฎธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปรีดา พลวงษาธนกุล. (2561). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมด้านพลเมืองที่ดีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรพิทักษ์ เห็มบาสัตว์ และวรรณพล พิมพะสาลี. (2563). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 9(2). 66-67.

พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม. (สังข์ขาว). (2562). ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(2). 138-139.

พระครูเวฬุวนาภิรมย์ (ทวีป กิตฺติสาโร). (2564). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของสถานบันครอบครัวในตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาชานนท์ ชัยมงคล. (2561). การศึกษาพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

พระมหาบริบูรณ์ ปริสุทฺโธ (อดศร). (2561). การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิจิตร อินฺทธมฺโม (พิศเพ็ง). (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนตามหลักกุศลกรรมบถ 10 สำหรับโรงเรียนประถามศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิษณุ วิสุทฺธิเมธี (ใยเกตุ). (2553). การพัฒนาคุณธณรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมะลิ ชิตธมฺโม (ท้วมประเสริฐ). (2561). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 6. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมพร สมจิตฺโต (อ่อนไธสง). (2562). การส่งเสริมเด็กและเยาวชนในการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี สหชัยรุ่งเรือง. (2564). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(7). 29-30.

สุกรี บุญเทพ และหมัดเฟาซี รูบามา. (2563). พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2563. วารสารหาดใหญ่วิชาการมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 18(1). 481-482.