การจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระปลัดปัญญา อุตฺตมวํโส
พระครูวิสุทธานันทคุณ
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชน (อายุ 18 ปีขึ้นไป) อาศัยอยู่ที่บ้านเจดีย์หัก หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 357 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การให้ความรู้ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุแก่ประชาชน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ความร่วมมือในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุกับหน่วยงานราชการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า บุคลากรในชุมชนขาดความเข้าใจความรู้และหลักการอนุรักษ์ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุของวัด ขาดบุคลากรที่เข้ามาดูแลรักษาทำความสะอาด กำจัดวัชพืชและขยะในแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ พระสงฆ์ที่สอนในโรงเรียนไม่ได้ปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นจิตสาธารณะในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุให้แก่นักเรียน ขาดความร่วมมือกันกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการป้องกันผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับแหล่งโบราณสถาน และข้อเสนอแนะต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ควรจัดให้มีการอบรมด้านการอนุรักษ์แก่พระสงฆ์และคนในชุมชนในพื้นที่แหล่งโบราณสถาน มอบหมายหรือจัดคนดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุดำเนินการเผยแผ่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ในเทศกาลต่างๆ ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ให้แก่นักเรียนในสถานศึกษาให้ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์แก่ประชาชนผ่านทางวิทยุชุมชนและสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอยู่ภายในวัด สร้างความร่วมมือกันระหว่างชุมชน ภาครัฐ และเอกชน มีการสนับสนุนงบประมาณที่จำเป็นในการบูรณะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุมชนคนคุณธรรม. (2565). ประวัติวัดเจติยาราม. แหล่งที่มา http://moral.m-culture.go.th. สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย. 2565.

ฐิติพร สะสม. (2558). ศึกษาระบบการบริหารและการจัดการวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาวัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บ้านจอมยุทธ์. (2564). สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี. แหล่งที่มา http://www.baanjomyut.com. สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2564.

พระครูบรรพตพัฒนคุณ ธนวฑฺฒโก (ไข่แก้ว). (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการวัดที่มีผลต่อสังคม กรณีศึกษาวัดเขาอิติสุคโต อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูใบฎีกาศักดิ์ดนัย สนฺตจิตฺโต (เนตรพระ). (2563). การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนาของวัดในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิชัย ธรรมานุกูล (วันชัย ฉนฺทธมฺโม). (2557). ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์วัดสระสี่เหลี่ยม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญช่วย ฐิตจิตฺโต (ยังสามารถ). (2560). บทบาทพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถานเวียงกุมกาม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาถาวร ถิรจิตฺโต (จิตรกระเนตร). (2556). บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสถียร ถาวรธมฺโม (เกษาชาติ). (2555). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โบราณสถานของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิฑูรย์ ฐานเมธี (บุญพร้อม). (2559). การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรวุฒิ โอตระกูล. (2550). มาอนุรักษ์กันเถิด ฉบับ 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร.

วีระ เปล่งรัศมี. (2560). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อินถา ศิริวรรณ. (2558). การบริหารวัดด้านการปกครอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.