ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้บริหาร ครู บุคลากร และเจ้าหน้าที่ โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ จำนวน 137 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุงานต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า การลาออกของครูในช่วงภาคการศึกษาหรือ ปีการศึกษา เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งทำให้โรงเรียนหาบุคลากรไม่ทัน ต้องให้ครูที่อยู่ทำการสอนแทนชั่วคราว บุคลากร ไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรด้านพระพุทธศาสนา ในการจัดกิจกรรมทางศาสนา ครูใช้เวลากับการเตรียมสอนและการอยู่ในชั้นเรียนน้อยลง เพราะต้องทำงานเอกสารและทำการประเมิน งบประมาณสำหรับเป็นค่าตอบแทนของครูผู้สอนน้อย ผู้ณครูหรือบุคลากรภายในโรงเรียนยังให้ความร่วมมือได้ไม่เต็มที่ในการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม บริหารยังให้ความสำคัญกับการจูงใจครูในโรงเรียนน้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการและความก้าวหน้าทางอาชีพตลอดจนสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
เตือนใจ ศรีรัตนะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคกลางเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบันฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พระครูปลัดศุภชัย ขนฺติโก (บุญอิ่ม). (2561). ความพึงพอใจในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุธีปริยัติวิธาน (สุภาพ อาตาปโก). (2561) ประสิทธิผลการจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา:กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบ้านโป่งสามัคคีคุณูปถัมภ์) อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระคำไข คมฺภีรานนฺโท (ธงสวัสดิ์). (2558). ประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัยสงฆ์ นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล สุทฺธจิตฺโต (โนทายะ). (2554). การบริหารงานโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเกียรติศักดิ์ ฉฺนฺทธมโม. (2558). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพนมกรณ์ จิตเมธี. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนธรรมราชศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวีระพนธ์ ผองผาลา. (2558). การปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารัตนะ. (2555). การพัฒนานโยบายการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2559). โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
เสนาะ ติเยาว์. (2554). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
องอาจ นามพิกุล. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดขอนแก่นเขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.