บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

จิราพัชร วงศาโรจน์
พระครูวิสุทธานันทคุณ
พระครูวาทีวรวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 รูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการสุ่มแบบแบบเจาะจง จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 รูปหรือคน  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ด้านร่างกาย พระสงฆ์ได้แสดงบทบาทการพัฒนาเยาวชนเชิงกายภาพอย่างต่อเนื่อง การอบรมด้วยหลักธรรมตามโครงการและกิจกรรมที่โรงเรียนหรือวัดกำหนดขึ้น รวมถึงการบรรยายธรรมในวันสำคัญ โดยการหลักศีล 5 มาอธิบายประกอบการพัฒนาด้านร่างกาย คือ การไม่เบียดเบียน การไม่ทำร้ายทั้งคนและสรรพสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะวิวาท ด้านจิตใจ พระสงฆ์มีส่วนอย่างมากต่อการพัฒนาจิตใจของเยาวชน ฉะนั้น การที่หน่วยงานเหล่านั้นจัดกิจกรรมเชิงศาสนาและวัฒนธรรม พระสงฆ์อบรมสั่งสอนเยาวชนให้ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใส และด้านสังคม พระสงฆ์ได้อบรมสั่งสอนหลักการที่ดีเกี่ยวกับมารยาทชาวพุทธ อันเป็นมารยาทไทยที่ทำให้เยาวชนมีกิริยามารยาทที่งดงาม พร้อมที่จะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตร่วมกับสังคม ทั้งที่โรงเรียน หน่วยงาน และกลุ่มเพื่อน 2) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ด้านร่างกาย นักเรียนมีสมาธิสั้นมีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ชอบในการนั่งสมาธิหรือการทำกิจกรรมทางศาสนา ด้านจิตใจ นักเรียนบางกลุ่มที่ต่อต้านการเข้าวัดการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ การค่อยๆปลูกฝังใช้เวลา ไม่ควรใช้วิธีการบังคับจิตใจ ด้านจิตใจ ควรส่งเสริมเยาวชนให้มีจริยธรรมเป็นแกนกลางของการพัฒนาด้านอื่นๆ และด้านสังคม เทคโนโลยีและเพื่อนทำให้เด็กไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัด เด็กจะเข้าหาเทคโนโลยีและโทรศัพท์ รวมถึงปัญหาทางด้านยาเสพติด และ 3) การพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ด้านร่างกาย ควรมีกิจกรรมที่สามารถให้ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันด้วยการใช้หลัก บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน ด้านจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ควรและละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย โดยการสอดแทรกไปกับกิจกรรม หรือแบบฝึกเสริม และด้านสังคม พระสงฆ์ควรแสดงบทบาทของในการพัฒนาเยาวชน ชุมชน และสังคมไปพร้อมกัน ทั้งด้านการศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ และด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน ทั้งนี้ พระสงฆ์ต้องแสดงบทบาทการพัฒนาการศึกษาหลักธรรมให้ชัดเจนเป็นระบบ โดยเข้าไปให้การศึกษาระดับโรงเรียนที่ขยายโอกาสให้กับชุมชนโดยรอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญรับ ศักดิ์มณี และโสภณ เสือพันธ์. (2538). หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

พระครรชิต โกสโล. (2544). บทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์ประดิษฐ์ ปญฺญาวฑฺฒโก. (2556). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนน้ำพุ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).(2542). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมมังคลาจารย์. (ปัญญานันทภิกขุ). (2550). รักลูกให้ถูกทาง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระมหานิคม ญาณโสภโณ. (2554). บทบาทของวัดในการเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2547). ปัญหาเยาวชนมีใครสนใจจะแก้. ไทยโพสต์. 20 มิ.ย. 2547.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2544). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2532). คู่มือการพัฒนาคุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

สุชาติ ศรีสุวรรณ. (2546). เหตุของปัญหาวัยรุ่น. มติชน. 11 มิ.ย. 2546.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2547). เซ็กส์-ยา-ฆ่า อาการป่วยทางจริยธรรมขึ้นวิกฤตของเยาวชนไทย. มติชน. 3 ต.ค. 2547.