การส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ให้แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พิชญ์ชิชา หิรัญถาวรพัทธ์
พระครูวิสุทธานันทคุณ
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ระดับการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ กายภาวนา ปัญญาภาวนา จิตภาวนา และศีลภาวนา 2) ผลการเปรียบเทียบการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4
แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ มีความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 แก่ผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน จึงยอมรับตามสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ไม่มีการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ ขาดการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ขาดการนอนหลับที่เพียงพอ ขาดการมีความรู้ความเข้าใจด้านหลักศีลธรรมและคุณธรรมทางพระพุทธศาสนา ขาดการตั้งเครือข่ายผู้สูงอายุ ไม่มีกิจกรรมนั่งสมาธิช่วยบำบัดความเครียดและคลายความกังวล ขาดการเข้าร่วมฟังเทศน์ สวดมนต์ไหว้พระ และการเจริญสติ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรให้ความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ ควรจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเพื่อสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ ควรจัดให้มีกิจกรรมการทำสมาธิเพื่อการรักษาจิตใจ ควรรู้จักการแก้ปัญหาความทุกข์แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลวรา พิมใจใส. (2558). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิสุรพงษ์ มาลี. (2561).เตรียมความพร้อมภาครัฐสู่สังคมสูงอายุ: แกะรอยยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ. วารสารข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.). 60(4). 10.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการเฮือนเฮาส์. 38(1). 7-8.

ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(1). 26.

ณภัคสุรางค์ วงศ์สุภาภรณ์. (2558). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิภา เมธธาวีชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

ปภัสสร กิมสุวรรณวงศ์. (2557). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา. วารสาร MFU CONNEXION. 3(2). 20.

ประกอบ กรรณสูตร.(2554). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พระกองสี ญาณธโร. (2560). ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 18. นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

พระภูวณัฐสร์ หนูมาก. (2548). กระบวนการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ต่อการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระวุฒิภัทร อาทโร. (2555). บทบาทของพระสงฆ์ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดราชบุรี. (2564). ข้อมูลการปกครอง/จำนวนประชากรและจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดราชบุรี. แหล่งที่มา https://www.ect.go.th สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2564.