การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

เตวิช สุทธิประเสริฐ
พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต
พระครูวาทีวรวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากจากประชาชนผู้รับบริการจากกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี จำนวน 129 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านวจีไพเราะ (ปิยวาจา) ด้านโอบอ้อมอารี (ทาน) ด้านวางตนเหมาะสม (สมานัตตตา) และด้านสงเคราะห์ผู้คน (อัตถจริยา) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา และรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ มีความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี แตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ เจ้าหน้าที่ไม่เสียสละเวลาทำงาน ไม่เอื้อเฟื้อแก่บุคคลอื่น ไม่พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะในการให้บริการ พูดจาไร้สารประโยชน์ ไม่ถูกกับกาลเทศะ ไม่ทำงานร่วมกันด้วยกายและใจ ขาดกำลังใจและแรงจูงใจในการทำงานการให้บริการ วางตนไม่เหมาะสมกับต่ำเหน่งหน้าที่ ไม่วางตนเป็นกลางรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ควรใช้วาทศิลป์พูดจาให้กำลังใจ กล่าววาจาสุภาพด้วยความจริงใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนทุกระดับชั้น ให้ความช่วยเหลือ มีความประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย วางตนได้เหมาะสมแก่ฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานิดา พานิชเจริญ. (2564) การให้บริการตามหลักพุทธธรรมของโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 4(2). 39-47.

ณัศฐมลกานต์ ไชยวิมลสิริ. (2561). การสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนในการให้บริการของภาครัฐ. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. 1(1). 30.

ด.ต.หญิง ณัฐวีร์ภัทร์ ถิ่นมีผล. (2553). ทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อประสิทธิภาพการบริหารงาน บริการของตำรวจท่องเที่ยวตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ ศิละวรรณโณ. (2553). ความคิดเห็นของพนักงานส่วนตำบลต่อการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4 กรณีศึกษา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2546). คำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 82. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

มณีนุช ไพรดี. (2553). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท พรอพเพอร์ตี้แคร์เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สามเณรเมธี เสี่ยปวง. (2560). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2564). การขอพระราชทานเกี่ยวกับพิธีการศพ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรศิริ เกตุศรีพงษ์. (2550). สังคหวัตถุ 4: วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้. วารสาร Productivity World เพื่อการเพิ่มผลผลิต. 12(68). 43-46.