แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธนากร ถีติปริวัตร
ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในและปัจจัยภายนอกเรือนจำ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในเรือนจำ ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาภายในเรือนจำไม่เหมาะสม วิทยากรผู้สอนสำหรับการฝึกอาชีพไม่เหมาะสม การอบรมและฟื้นฟูจิตใจไม่เพียงพอ สำหรับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว บิดามารดาหรือบุคคลในครอบครัวไม่ดูแลเอาใจใส่และให้การอบรมสั่งสอน ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนเสมอ ความร่วมมือระหว่างชุมชน คนในชุมชนรู้ว่าท่านเคยต้องโทษมาก่อน การได้รับการสงเคราะห์หลังพ้นโทษ ต้องการได้รับการอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา 2) แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ (1) สร้างความเข้าใจต่อสังคมภายนอกให้ยอมรับผู้ต้องขังและจัดหางานให้กับผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ (2) ให้ผู้ต้องขังได้รับการศึกษาเพิ่มเติมขณะต้องโทษ (3) ประสานหน่วยงานในชุมชนให้ชุมชนเป็นแหล่งปลอดอบายมุขและยาเสพติด (4) ฝึกอบรมวิชาชีพให้กับผู้ต้องขังให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน (5) อบรมและฟื้นฟูจิตใจให้กับผู้ต้องขัง เช่น เชิญผู้นำทางศาสนาต่างๆ เข้ามาให้ความรู้เพื่อส่งเสริมให้กระทำความดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์ กลุ่มงานพัฒนาระบบการพัฒนาพฤตินิสัย สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์. (2550). การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

กรมราชทัณฑ์. (2549). การเฝ้าระวังผู้ต้องขังคดียาเสพติดมิให้กระทำผิดซ้ำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.

ชวลิต กลิ่นแข, เกชา ใจดี, ณฐวรรธน์ เสมียนเพชร, สุพัตรา สมวงศ์ และทิพวรรณ สุวรรณโณ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 6(3). 253-261.

ทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา. (2565). ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ. แหล่งที่มา http://www.correct.go.th>ydcayut. สืบค้นเมื่อ 5 ธ.ค. 2565.

นคพัฒน์ สินเย็น. (2564). การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน. 3(1). 46-56.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2549). การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประเสริฐ แก้วจันทร์ และโกศล สอดส่อง. (2565). ปัจจัยการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธมัคค์. ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. 7(2). 170-182.

เพลินใจ แต้เกษม. (2549). การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด. พิมพ์ครั้งที่7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ร้อยตำรวจเอก วรปพัฒน์ มั่นยา และศุภกร ปุญญฤทธิ์. (2563). สาเหตุและแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดีลักทรัพย์กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก. 6(3). 74-83.

วีระศักดิ์ สัจจะปกาสิต. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมากระทำผิดซ้ำในความผิดฐาน พ.ร.บ.ยาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน. 3(3). 147-157.

อรพรรณ เลาหัตถพงษ์ภูริ. (2535). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับผลสัมฤทธิ์การฝึกวิชาชีพของเยาวชนชายในสถานพินิจคุ้มครองเด็กกลาง. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.