การยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดกลับคืนสู่สังคม : ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ ฉิมฉลอง
ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและสาเหตุการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบที ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม ด้านเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไม่ได้มีผลต่อการยอมรับผู้กระทำความผิด มีเพียงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเท่านั้นที่มีผลต่อการยอมรับ สาเหตุการยอมรับผู้กระทำความผิดของกลุ่มตัวอย่าง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด เมื่อได้รับการลงโทษจากกระบวนการยุติธรรมแล้วกลับตัวเป็นคนดีได้ รองลงมา คือ คนในสังคมไม่ควรตีตราหรือประทับตราผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด เมื่อได้รับการลงโทษและได้รับการแก้ไขฟื้นฟูแล้ว และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ยาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี เป็นอันตรายต่อชีวิต คนรอบข้างและสังคม 2) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม ผู้กระทำความผิดเพศหญิง ผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน ความผิดฐานเสพยาเสพติด ผู้กระทำความผิดครั้งแรก ผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟูได้รับการยอมรับจากคนในสังคม นโยบายของรัฐหรือกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป และการนำเสนอของสื่อมีอิทธิพลต่อการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2566). ระบบสถิติทางการทะเบียน. แหล่งที่มา https://stat.bora.dopa.go.th/statnew/statMenu/newStat/home.php สืบค้นเมื่อ 26 ก.พ. 2566.

กรมราชทัณฑ์. (2565). ระบบข้อมูลผู้ต้องขังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แหล่งที่มา http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_rt103_index.php สืบค้นเมื่อ 5 ธ.ค. 2565.

กัลยา เหล่าจก, พลกฤต แสงอาวุธ และวาสนา จาตุรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของเด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชลธร ไทยกล้า. (2544). การประเมินโครงการค่ายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องโทษคดียาเสพติด โดยกองทัพบก “โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง” มณฑลทหารบกที่ 14 ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตฤณห์ โพธิ์รักษา และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2563). เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 20(2). 44-56.

ปัญญา สุทธิยุทธิ์ และจิดาภา ถิรศิริกุล. (2565). ทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิบัติตามนโยบายเมาไม่ขับ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 9(2). 294-302.

พรชัย ขันตี และคณะ. (2543). ทฤษฎีและงานวิจัยทางอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คเน็ท.

พริสม์ จิตเป็นธม Workpoint Today. (2564). หนากว่ากำแพงคุกคือกำแพงคน. แหล่งที่มา https://www.tijthailand.org/th/highlight/detail/thicker-than-prison-walls สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2565.

แพง ชินพงศ์. (2562). อิทธิพลของ Social media ที่คนไทยต้องรู้. แหล่งที่มา https://mgronline.com/qol/detail/9620000036480 สืบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2566.

วันชนะ เปลื้องวัลย์ และวิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับผู้พ้นโทษของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 8(1). 151-170.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

อนุสรณ์ แก่งสันเทียะ. (2543). ทัศนคติของชาวกรุงเทพมหานครต่อการลงโทษประหารชีวิต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำไพ หมื่นสิทธิ์. (2540). ความพึงพอใจต่อชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านเจ็บ ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.