กลยุทธ์การสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น

Main Article Content

ประวิทย์ ชัยสุข
ระวิง เรืองสังข์
เกษม แสงนนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจำนวน 7 รูป/คน สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 265 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสาร ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสื่อสารองค์กร จุดแข็ง การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง น่าเชื่อถือ บุคลากรได้รับการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูล จุดอ่อน คือ การพัฒนาบุคลากรให้เกิดความเข้าใจงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ ไม่เพียงพอต่อภาระงานหลัก โอกาส คือ เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อุปสรรค คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ 2) การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรมี 4 องค์ คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ย่อย ในภาพรวมพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ 3) กลยุทธ์การสื่อสารองค์กร มีองค์ประกอบคือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ย่อย คือ (1) กลยุทธ์ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ จัดทำสื่อโซเชียลมีเดีย ผลิตสื่อนิทรรศการเคลื่อนที่ (2) กลยุทธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พัฒนาการสื่อสารให้ความรู้แก่บุคลากรภายในองค์กร (3) กลยุทธ์สร้างเครือข่ายสนับสนุนประชาสัมพันธ์เผยแพร่แก่บุคลากรหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กำหนดอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ พัฒนาสารสนเทศการประชาสัมพันธ์ (4) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสื่อสารองค์กรให้มีคุณภาพทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค ได้แก่ วิพากษ์แผนการประชาสัมพันธ์และการพัฒนาการสื่อสารภายใน พัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานบริหารงานบุคคล กองกลาง สำนักงานอธิการบดี. (2561). เอกสารประกอบแนวการสอบคัดเลือกเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จินตวีร์ คล้ายสังข์.(2565). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษิณา ชัยอิทธิพรวงศ์. (2565). Digital Connect Creation: หลักและแนวปฏิบัติในมิติการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาภัทร ปรากฏผล. (2564). กลยุทธ์การตลาดเชิงพุทธสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัคชุดา อำไพพรรณ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังานต่อสื่อมวลชน. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 2(2). 40-44.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาศ อังศุโชต และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สรุศักดิ์ คำสามารถ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development. 5(3). 245-246.

Toohey C.B., Dailida M. and Bartholomew C. L. (2003) Intersection of 21st century technology with 20th century laws: A case study in proactive issues management. Journal of Public Affairs. 3(3). 232-244.