การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคปัจจุบัน

Main Article Content

พระมหาอภิชาติ ชยเมธี (ถาวร)

บทคัดย่อ

ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุคปัจจุบันนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะเป็นผู้นำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสืบสานพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่คู่กับคนไทย ดังมีคำกล่าวไว้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจะรุ่งเรืองสืบไปก็ด้วยการอาศัยพระสังฆาธิการเป็นสำคัญเนื่องจากพระสังฆาธิการเป็นผู้ใกล้ชิดประชาชน โดยเฉพาะพระสังฆาธิการเจ้าอาวาสซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไปและมีบทบาทโดยตรงต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้ดำรงสืบไป ซึ่งมีหลักในการพัฒนาภาวะผู้นำ คือ 1) การพัฒนาโดยการใช้การรับรู้ จดจำ ด้วยตนเอง 2) การพัฒนาด้วยการสร้างวินัยในตนเอง 3) พัฒนาด้วยการให้การศึกษา ประสบการณ์ และการให้คำแนะนำ หลักทั้ง 3 ประการนี้เป็นหลักในการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ตาม ยินดีที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถบริหารกิจการของพระพุทธศาสนาให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองได้ยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมล ฉายาวัฒนะ. (2554). บริหารคนและงานด้วยวิธีการของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติกฎระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสังฆาธิการและการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). วัดจะมีส่วนรับภาระและจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้อย่างไร สกศ. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระครูจันทสารสุตกิจ, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2562). รูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ภาค 1. วารสารมจร สันติศึกษาปริทรรศน์. 7(4). 995-1006.

พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในทศวรรษหน้า. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 4 (2). 313-322.

พระครูมงคลศีลวงศ์ (กุศล คนฺธวโร). (2526). พระสงฆ์กับการพัฒนาชนบท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระครูวชิรคุณพิพัฒน์ (เอนก คุณวุฑฺโฒ). (2565). การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจยวิชาการ. 5(6). 1-14.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

พระมหาอภิชาติ ชยเมธี (ถาวร). (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาในเขตการปกครองคณะสงฆ์หนกลาง. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ (Leadership). กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

วาสนา สุขประเสริฐ. (2547). ภาวะผู้นำของบริหารสตรีโรงเรียนปฐมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

วีระวัฒน์ ปันนิตานัย. (2543). เชาว์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์. (2544). วิสัยทัศน์ขุนคลัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการ.

สำนักงานพระพุทธศาสนา. (2563). กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2563) ข้อที่ 9. แหล่งที่มา https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/450/iid/2202 สืบค้นเมื่อ 23 มี.ค. 2564.