องค์ประกอบของสมรรถนะความเป็นครูตามหลักพุทธธรรมของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะความเป็นครูตามหลักพุทธธรรมของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ออกแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะความเป็นครูตามหลักพุทธธรรมของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ สมรรถนะความเป็นครู 3 ด้าน ได้แก่ 1) คุณลักษณะของครู ขยันอดทน เสียสละ มีเมตตา วางตนให้เหมาะสม สร้างความสามัคคี 2) การพัฒนาความรู้ของครู ประกอบด้วย มีความสนใจ มีการใฝ่รู้ มีวิสัยทัศน์ พัฒนาตนเอง เป็นผู้นำปฏิบัติได้ 3) ศาสตร์การสอนของครู ประกอบด้วย มีวาจาไพเราะ มีมนุษยสัมพันธ์ รอบรู้วิชาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ โดยใช้หลักภาวนา 4 มีกายพัฒนากายของครู พัฒนาความประพฤติของครู ครูมีใจสดชื่นเบิกบาน อบรมปัญญาของครู
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. แหล่งที่มา http://nscr.nesdc.go.th/ สืบค้นเมื่อ 5 ก.ย. 2564.
คติยา อายุยืน. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามหลักพุทธธรรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป .อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 20.กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ซี-ทีซีเอฟ). กรุงเทพมหานคร: ออนป้า.