องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงพุทธในสังคมนวัตกรรมพลิกผันสำหรับสถานศึกษา

Main Article Content

อรุณรัตน์ วิไลรัตนกุล
ลำพอง กลมกูล
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงพุทธในสังคมนวัตกรรมพลิกผันสำหรับสถานศึกษา ออกแบบการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษา ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงพุทธในสังคมนวัตกรรมพลิกผันสำหรับสถานศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณลักษณะผู้นำสังคมยุคพลิกผัน 2) คุณลักษณะผู้นำเชิงนวัตกรรม 3) คุณลักษณะผู้นำเชิงพุทธ 4) คุณลักษณะผู้นำนวัตกรรมเชิงพุทธในสังคมนวัตกรรมพลิกผัน ประกอบด้วยมองเห็นอนาคต สร้างบรรยากาศร่วมที่ดี เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และเคารพความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา. 17(79). 13.

ไพทูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพิน ชัยราชา. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและภาวะผู้นำเพื่อการดำรงอยู่ของสถานศึกษา สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน. คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(1). 8.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การเรียนรู้โลก VUCA สู่ Social Quotient. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศุภกร ถือธรรม. (2564). คุณลักษณะผู้นำกับการบริหารองค์การแบบเป็นทางการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน. 2(1). 63-64.

อริญญา เถลิงศรี. (2561). Disruption: ทำลายล้างหรือสร้างโอกาส. แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2018/06/seac-disruption สืบค้น 17 เม.ย. 2565.