ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 เป็นการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีภารกิจหลักที่เป็นหัวใจของสถานศึกษา 5 ประการ คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน 5) การส่งต่อนักเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งมีมาตรการช่วยเหลือนักเรียน 3 มาตรการ คือ (1) การจ่ายเงินเยียวยานักเรียน (2) อินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับการเรียน (3) การลดภาระงานครูและนักเรียน เพื่อพัฒนาไปพร้อมกันในรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้การมีส่วนร่วมของผู้เรียน สามารถกระตุ้นความสนใจ และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างเด็ก ครู และวิธีสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ไทยโพสต์. (21 มิ.ย. 2564). 'ตรีนุช 'ย้ำ การจัดการศึกษาในยุคโควิดต้องยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ปกครอง รร. ต้องจัดการตามแนวทางที่เด็กสะดวก. ไทยโพสต์. แหล่งที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/107080 สืบค้นเมื่อ 3 ก.ค. 2563.
พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/ สืบค้นเมื่อ 3 มี.ค. 2564.
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวทางการดำเนินระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชา จันทร์เอม. (2544). วัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.