ศึกษาสภาพการบริหารตนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 พระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ณฤดีณัฏฐา รัตนกระจ่างศิลป์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 พระนครศรีอยุธยา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารตนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 พระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมและรายด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ การประหยัดและเก็บออม และการปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิพย์มงคล ปิสายะโส. (2559). ศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิพนธ์ กินาวงศ์, (2543). หลักการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก : ตระกูลไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

พระครูปลัดสุรวุฒิ สิริวฑฺฒโก (อุกฤษโชค) และศุขภิญญา ศรีคำไทย. (2562). การบริหารตนตามแนวพุทธธรรมเพื่อบริหารองค์การทางการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(3). 266-277.

พระครูสุนทรสุวรรณการ (ประทีป สุเมโธ). (2559). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการครองตนตามหลักปัญญา 3 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สัมมาปญฺโญ/วันจันทร์), (2559). บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิต มานิตเจริญ, (2519). พจนานุกรมไทย. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.

สมศักดิ์ บุญปู่. (2557). พลธรรม: พลังอำนาจเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 1(2). 1-12.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (นนทบุรี-พระนครศรีอยุธยา), (2562). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2562 สพม. 3. แหล่งที่มา http://www.secondary3.go.th/main/news/7752.html สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2562.

อนุสรณ์ ยกให้. (2549). การนำเสนอรูปแบบการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.