ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

พงศกร มงคลหมู่
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
พีรวัฒน์ ชัยสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในรายด้านทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน คือ สื่อการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมอนามัย. (2554). คู่มือการดำเนินงานโครงการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ สู่เมืองไทยแข็งแรง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก หน้า 5 (30 เม.ย. 2562).

ศิริพรรณ ยิ้มย่อง. (2544). การจัดประสบการณ์ระดับอนุบาลศึกษา. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 5. 51-52.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). ฐานข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. แหล่งที่มา http://www.ayutthayalocal.go.th/newsmoney สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2563.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.