ศึกษาสภาพโรงเรียนธรรมาธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพโรงเรียนธรรมาธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพโรงเรียนธรรมาธิปไตยของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
วันชัย หวังสวาสดิ์. (2559). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สพป. สมุทรปราการ เขต 1. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. แหล่งที่มา https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=1101 สืบค้นเมื่อ 19 ก.ย. 2562.
สมนึก ปัญญาสิงห์. (2558). การพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลนาชุมแสง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมหมาย จันทร์เรือง. (2559). โรงเรียนประชาธิปไตย. แหล่งที่มา https://www.matichon.co.th/%20columnists/news_366282 สืบค้นเมื่อ 30 มี.ค. 2563.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สิทธิ์ โพธิแท่น. (2554). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุภาพร ชัยฤกษ์. (2552). การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย : ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Best, John W. (1970). Research in Education. 3ed Englewood Cliffs. New jersey: Pretice Hall.