ทิศทางการพัฒนาโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนมีแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้ตรงตามความต้องการและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายบรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนให้ส่วนต่างๆ ของสถานศึกษาได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาไปพร้อมกัน โดยประการแรก การบริหารจัดการโดยปรับใช้แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ในการบริหารงานในสถานศึกษา ประการต่อมาคือ การสื่อสารทั้งภายในและระหว่างองค์กร ให้บุคคลากรทางการศึกษาได้รับทราบในการดำเนินงานพัฒนา โดยการสื่อสารภายในเพื่อการสร้างความเข้าใจในแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่ถูกต้อง และนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ส่วนการสื่อสารระหว่างองค์กรนั้นเพื่อเพิ่มโอกาส และลดอุปสรรคในการบริหารสถานศึกษา ประการสุดท้ายคือ การสร้างความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมการศาสนา. (2559). รวม ศพอ. ทั่วประเทศ ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา.
กรมศาสนา. (2555). ข้อมูลสถิติจากเอกสารโครงการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประจำปีงบประมาณ 2555. แหล่งที่มา http://www.dra.go.th/download/news/25550716/โครงการและกำหนดการแต่ละครั้ง.doc สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2562.
กรมศาสนา.(2561). รายชื่อศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (สถิติข้อมูล ศพอ.). แหล่งที่มา http://www.dra.go.th/dra_learn/main.php?filename=name สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2561.
ธีรวัฒน์ มอนไธสงค์. (2561). การบริหารสถานศึกษาอย่างผู้บริหารมืออาชีพ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2542). การคณะสงฆ์ กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ระบบฐานข้อมูลศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรมศาสนา. (2554). ประวัติความเป็นมา. แหล่งที่มา http://www.dra.go.th/dra_learn/main.php?filename=about_us สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2562.
โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562). ประวัติ. แหล่งที่มา http://sunday2.mcu.ac.th/?page_id=7 สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2562.
วินัย ดิสสงค์. (2552). การบริหารโรงเรียนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: เป็นภาษาศิลปะ.
สมศักดิ์ บุญปู่. (2554). พระสงฆ์กับการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุจินตนินท หนูชู. (2556). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อเนก ขำทอง และปัญญา สละทองตรง. (2550). ธรรมศึกษาชั้นตรี ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.