ศึกษาสภาพสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในเขตปกครอง คณะสงฆ์ภาค 17

Main Article Content

พระมหานครินทร์ อนาลโย (สุขราช)
อินถา ศิริวรรณ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 17 โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 17 จำนวน 234 รูป ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า สภาพสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 17 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเพื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเช่นกันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (Attributes)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธวัชชัย ฉินส่งธีระพานิช. (2559). การพัฒนาสมรรถนะด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

พระครูปริยัติกิตติธำรง (ทองขาว กิตฺติธโร). (2551). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมยุคปัจจุบัน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา

พระธรรมวโรดม. (2539). การปกครองวัด. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

พระราชเมธี (วิชา อภิปญโญ), สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะพระสังฆาธิการระดับอำเภอในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 8. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(1). 10-20.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.