การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการนำหลักพุทธธรรม คือ หลักปาปณิกธรรม 3 ประการ คือ 1) จักขุมา เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความรอบคอบ มีเหตุผล และมีปัญญามองการณ์ไกล 2) วิธูโร เป็นผู้บริหารที่จัดการบริหารสถานศึกษาได้ดีด้วยความเชี่ยวชาญ 3) นิสสยสัมปันโน เป็นผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์และเป็นผู้บริหารต้นแบบอย่างที่ดี นำมาบูรณาการกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 3 สมรรถนะหลัก คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้ (การบริหารงานวิชาการและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา) 2) สมรรถนะด้านทักษะ (การบริหารงานวิชาการและการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้) 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะ (ภาวะผู้นำทางวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม) อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษามีศักยภาพในการบริหารจัดการทั้งด้านการบริหารงานวิชาการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณธรรมจริยธรรม โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม (ปาปณิกธรรม 3) กับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้ กับจักขุมา วิสัยทัศน์ปัญญาการมองกาลไกล (Conceptual Skill) 2) สมรรถนะด้านทักษะ กับวิธูโร ทักษะทางด้านการปฏิบัติงาน (Technical Skill) และ 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะกับนิสสยสัมปันโน ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Skill)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
เทื้อน ทองแก้ว. (2556). สมรรถนะ Competency: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ผู้จัดการ. (2551). เปิดไตรสูตรสร้างนักบริหารใช้หลักธรรมสู่ความสำเร็จธุรกิจ. แหล่งที่มา http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=70732 สืบค้นเมื่อ 30 พ.ย. 2564.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.
พิศุทธิ์ศักดิ์ กุลสาร และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มทวาราวดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(2). 240-253.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
อัขราธร สังมณีโชติ. (2550). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึ่งประสงค์ของชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.