ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของนักเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของนักเรียนประถมศึกษา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนโดยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของนักเรียนประถมศึกษา ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาจำแนกเป็นรายด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ การจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ และมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือคุณภาพผู้เรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
ประสาท วันทนะ. (2552). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการจัดกิจกรรมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). เกี่ยวกับ DLTV. แหล่งที่มา https://www.dltv.ac.th/about-us สืบค้นเมื่อ 21 ส.ค. 2564.
ว่าที่ร้อยตรีเกียรติศักดิ์ เริงชัยภูมิ และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2558). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารโครงการจัดการศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10(3). 493-504.
ศิริพร พรสิรินทิพย์. (2558). การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสะเมิง 2 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สการะ นิมมานเหมินท์. (2552). การใช้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). สพฐ. แจงแนวทางจัดเรียนทางไกล ชี้หากโควิด-19 คลี่คลายให้เรียนใน ร.ร. ปกติ. แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/archives/250059 สืบค้นเมื่อ 16 ต.ค. 2564.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). สพป.ชลบุรี เขต 3 : ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV). แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/archives/258444 สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2564.
Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4 th ed. New York: Harper & Row.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.