ศึกษาสภาพการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 357 คน ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า สภาพการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันและแก้ไข และการส่งต่อนักเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำหรับผู้บริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
ปกาวรรณ แก้วโพธิ์. (2559). ผลการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
ปิยะพร ป้อมเกษตร์. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิไล รัตนทิพย์ และชัยยุทธ ศิริสุทธิ์. (2562). กลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4). 716-729.
สุชา จันทร์เอม. (2544). วัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต.
สุนทร โครพ และพรเทพ รู้แผน. (2564). แนวทางการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอ่างทอง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(1). 143-153.