ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนชุดการรู้เท่าทันสื่อกรณีศึกษา นักศึกษานิเทศศาสตร์และนักศึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิภาพของสื่อการสอนรู้เท่าทันสื่อ 2. ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาชุดการสอนรู้เท่าทันสื่อ โดยประชากรของงานวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 104 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลที่ได้จากคำถามปลายเปิด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพของสื่อการสอนรู้เท่าทันสื่อ ในภาพรวม ประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทุกด้านมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยที่ด้านการประเมินคุณค่า/คุณภาพสื่อ (X=4.20) ด้านทักษะในการเข้าถึงสื่อ (X=4.16) ด้านเข้าใจผลกระทบของสื่อ (X=4.16) ด้านสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ (X=4.16) ด้านการวิเคราะห์สื่อ (X=4.04) และด้านการตีความเนื้อหาของสื่อ (X=3.79) 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาชุดการสอนรู้เท่าทันสื่อ ได้แก่ 1. ควรใช้ภาพประกอบ และใช้เสียงที่ชัดเจนกว่านี้ 2. ควรนำเสนอรายละเอียดของสื่อให้มากกว่านี้ 3. ควรแนะนำสื่อที่ดี 4. ควรแบ่งแยกประเภทของสื่อ 5. ควรมีระยะเวลาในการนำเสนอสื่อนานกว่านี้ และ 6.ควรเพิ่มช่องทางในการสอนภาษาต่าง ๆ
1สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม
2สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม
*Corresponding author: Marisa.suji@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ชุติมา แก้วศรีงาม และ จิตรา กุลปภาวงศ์. (2564). การออกแบบสื่อการสอนหลายภาษาเพื่อเพิ่มการเข้าถึง
การรู้เท่าทันสื่อในกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลาย. วารสารการศึกษานานาชาติ, 5(2), 82-98.
ณัฐวุฒิ ราชรักษ์. (2563). "การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการแยกประเภทสื่อสำหรับนักเรียนระดับ
ประถมศึกษา." วารสารวิทยาการการเรียนรู้, 7(2), 95-112.
ทอแสงรัศมี ถีถะแกว. (2561). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง
การรู้เท่าทันสื่อ: กรณีศึกษานักศึกษาวิชา RSU 101 ธรรมาธิปไตย สถาบัน General Education
มหาวิทยาลัยรังสิต. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต, ประจําปี 2561 (RSU
National Research Conference 2018) [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2567 จาก
https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2018/G5-NA18-042.pdf
นิพนธ์ กิตติพร. (2565). การรู้เท่าทันสื่อ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา.
วารสารการวิจัยการสื่อสาร, 10(2), 45-58.
ประภาพร สุขุม และ พรทิพย์ คงสมบูรณ์. (2565). การพัฒนาชุดการสอนรู้เท่าทันสื่อเพื่อเสริมสร้างการ
ประเมินคุณค่าของสื่อสำหรับเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา, 9(1), 25-42.
ธนากร ภูผา และ ธัญลักษณ์ เกียรติสุพงศ์. (2566). การพัฒนาหลักสูตรสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการเลือก
สื่อที่มีคุณภาพและเหมาะสมในวัยรุ่น. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 20(1), 37-53.
วรพจน์ ตะลุนลม. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสื่อการสอนที่มีระยะเวลานำเสนอเหมาะสมสำหรับผู้เรียน
ระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์และการวิจัย, 10(3), 123-138.
มาริษา สุจิตวนิช.และเยาวภา บัวเวช. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยการรู้เท่าทันสื่อ : ประโยชน์
และการนำไปใช้ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ศิริวรรณ แก้วอำไพ และ จิราภรณ์ บุญชุ่ม. (2564). "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีภาพประกอบและเสียงที่
ชัดเจนเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น." วารสารวิชาการและ
วิจัยการศึกษา, 18(2), 54-68.
สมชาย บุญฤทธิ์. (2564). ผลกระทบของสื่อการเรียนการสอนที่เน้นการรู้เท่าทันสื่อต่อการพัฒนาทักษะการคิด
วิเคราะห์ในนักศึกษา. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์, 8(3), 102-115.
สุนทรี ชัยพร. (2563). บทบาทของการรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัลและผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสาร
ของนักศึกษา. วารสารการจัดการและสื่อสาร, 5(4), 35-48.
Livingstone, S., and Blum-Ross, A. (2020). Children's data and privacy in the digital age. Oxford University Press.
Maksl, A., Craft, S., Ashley, S., and Miller, D. (2020). "The Impact of Media Literacy Education
on Digital Information Literacy Skills." Journal of Media Literacy Education, 12(1), 35-47.
Martens, M., and Hobbs, R. (2021). "Evaluating the Role of Access Skills in Media Literacy
Competency." Media Studies Journal, 15(2), 87-101.
Merrill, M. D. (2002). First principles of instruction. Educational Technology Research and
Development, 50(3), 43-59.
Moussa-Inaty, J., Aissa, N. H., and Garcia-Sanchez, J. N. (2019). The effectiveness of
multimedia learning tools in educational environments. International Journal of
Education and Information Technologies, 14(2), 97-110.
Potter, W. J. (2004). Theory of media literacy: A cognitive approach. New York: Sage
Publications.
Schmidt, H. C. (2012). Media literacy education in the social studies: Teacher perceptions and
curricular challenges. The Journal of Social Studies Research, 36(3), 237-255.
Silverblatt, A. and Eliceiri, E. M. E. (1997). Dictionary of Media Literacy. Santa Barbara, CA
Greenwood Publishing Group
Silverblatt, A. (2014). Media Literacy: Keys to Interpreting Media Messages. Praeger.
Tufte, T., and Enghel, F. (2017). Communication and Social Change: A Citizen Perspective.
Chichester, UK: Wiley-Blackwell.