การศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

บรรจบพร อินดี
เศกสิทธิ์ ปักษี
ศรเพชร ยิ่งมี
ชนกนันท์ นราแก้ว
สายใจ รัตนสัจธรรม

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัด ตามหลักเกณฑ์พิจารณาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตามองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสานวิธี โดยวิธีการเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดหรือพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน และประชาชนโดยรอบวัด จำนวนวัดละ 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีการเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .873 เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยววัดในพื้นที่ตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 384 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า:
     1. การวิเคราะห์ศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดในพื้นที่ตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตามหลักเกณฑ์พิจารณาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว (5As) จากวัดจำนวน 13 แห่ง พบว่า มีเพียง 4 แห่งที่มีศักยภาพตามหลักเกณฑ์ ได้แก่ วัดหนองสองห้องผาสุการาม เป็นวัดที่มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทั้งด้านสิ่งดึงดูดใจ กิจกรรมการท่องเที่ยว ความสะดวกในการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมถึงด้านที่พัก สำนักปฏิบัติธรรมภาวนาบารมี มีศักยภาพภายในพื้นที่สามารถจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีสถาปัตยกรรมทางความเชื่อที่ป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น อาคาร มีห้องน้ำบริการ มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในลักษณะของการเข้ามาเยี่ยมชม ถ่ายรูป ชมความสวยงามของสถาปัตยกรรม วัดหนองตากยาอภัยสัตว์ เป็นวัดที่มีความพร้อมในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยว ความสะดวกในการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวก และมีสินค้าที่ระลึกเป็นขนมปั้นสิบที่สามารถทำเป็นสินค้าประจำของแหล่งท่องเที่ยว และวัดหนองตะครอง มีสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว คือ โบสถ์สีขาวที่นักท่องเที่ยวผ่านมาจะต้องลงมาถ่ายรูป มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำและลานจอดรถที่เพียงพอ นักท่องเที่ยวนิยมแวะไหว้พระและถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมโบสก์สีขาว แต่ยังไม่มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวไว้รองรับนักท่องเที่ยว
     2. ความคิดเห็นนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด ในตำบล หนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จากองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านธุรกิจท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วมชุมชน ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ ด้านการสร้างจิตสำนึกนักท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการตลาด ตามลำดับ


1-5อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กาญจนบุรี
*Corresponding author: Young_taa@hotmail.com

Article Details

How to Cite
อินดี บ., ปักษี เ., ยิ่งมี ศ., นราแก้ว ช., & รัตนสัจธรรม ส. (2024). การศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(2), 253–265. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.41
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่ง

ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ

สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2567). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566.

[ออนไลน์] ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2567, จาก ttps://www.mots.go.th/news/category/705.

นุชประวีร์ ลิขิตศรัณย์ (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการ

ท่องเที่ยวไทย. 14 (1). 28-41.

นพวรรณ วิเศษสินธุ์ นงเยาว์ อุทุมพร ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และธีรพงษ์ บุญรักษา. (2560). ศักยภาพในการเป็น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา. 11 (3). 97-109.

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระครูสมุทรวีราภรณ์ มหานาค. (2552). การพัฒนาการศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนะรรมของอำเภอ

พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.

เพียงกานต์ นามวงศ์. (2552). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนไหล่หิน

อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ

และการท่องเที่ยว สํานักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ราณี อิสิชัยกุล. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว. สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วนัสนันทน์ โพธิ์เพชร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. ปริญญาศิลปศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิจิตรา บุญแล เสรี วงษ์มณฑา ชวลีย์ ณ ถลาง และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2564). การศึกษาศักยภาพ

องค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย.

(1) .46-55.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management.

(1) . 97-116. http://dx.doi.org/10.1016/S0261-5177(99)00095-3

Pelasol, J. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo,

Philippines. International. JPAIR Multidisciplinary Research is being certified for

QMS ISO 9001:2008 by the Anglo Japanese American Registrars of the United

Kingdom. 8, 90-97.